เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในการเทรด

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

เทรดเดอร์ทุกคนรู้ดีว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจมีผลกระทบอย่างมากต่อตลาด Forex ในการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและข่าว Forex ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถติดตามเหตุการณ์ล่าสุดและรู้เบาะแสเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินได้

การเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจทั้งหมดถูกรวบรวมไว้แล้วในปฏิทินเศรษฐกิจ มีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ อยู่มากมาย ดังนั้นหากคุณเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ คุณจะไม่รู้ว่าจะดูจากตรงไหนก่อน ไม่ต้องกังวลไปนะ! เราได้เลือกเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่คุณควรต้องติดตามเพื่อใช้คาดการณ์พฤติกรรมของคู่สกุลเงินที่คุณซื้อขายไว้แล้ว

เราขอเริ่มจากการประชุมของธนาคารกลาง

การประชุมมีความสำคัญไม่เพียงเพราะธนาคารกลางประกาศอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่มันยังให้เบาะแสเกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคตอีกด้วย

  • การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะผลักดันสกุลเงินขึ้น
  • ในทางกลับกัน การลดลงของอัตราดอกเบี้ยถูกมองว่าเป็นการฉุดสกุลเงินลง หรือเป็นที่รู้กันว่าเป็นสัญญาณเชิงลบ
  • หากธนาคารกลางไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย มันอาจเป็นขาลงหรือขาขึ้นได้ โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาด

ในระหว่างการประชุม ธนาคารกลางมักนำเสนอมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต หากธนาคารเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดี เทรดเดอร์ก็จะคาดหวังว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและส่งผลให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น ในทางกลับกัน แนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอจะทำให้เทรดเดอร์เทขายสกุลเงิน ยิ่งไปกว่านั้น ควรจะต้องคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มเศรษฐกิจด้วย

ตัวอย่าง

มาดูตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดของธนาคารกลางกับการเคลื่อนไหวของสกุลเงิน เมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 2021 ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียกล่าวว่าไม่น่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นก่อนปี 2024 ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 400 จุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

1.png

มาดูที่ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจกัน

GDP

GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสามารถเรียกได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดของสุขภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการวัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมที่สุด

ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ จะมีการเผยแพร่ GDP ออกมาสามรูปแบบ – ล่วงหน้า เบื้องต้น และขั้นสุดท้าย GDP ล่วงหน้านั้นขับเคลื่อนตลาดได้มากที่สุด

การเติบโตของ GDP ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากข้อมูล GDP อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ สกุลเงินก็จะร่วงลง

ตัวอย่าง

ญี่ปุ่นเผยว่า GDP โตเกินคาดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม

2.png

ส่งผลให้ USD/JPY ลดลง 245 จุดใน 3 ชั่วโมงหลังจากการเผยแพร่ในวันนั้น และจากนั้นคู่สกุลเงินก็ร่วงลงต่อไป ร่วงลงไปทั้งสิ้น 490 จุด เลยทีเดียว ว้าว!

3.png

อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ (CPI)

มีสองชื่อที่แตกต่างกันสำหรับคำคำเดียว คุณสามารถเจอทั้งสองชื่อนี้ได้ในปฏิทินและบทความ CPI หรือดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงถึงราคาเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายให้กับตะกร้าสินค้าในตลาด ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงของดัชนีนี้จะระบุช่วงเวลาของภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมีประสิทธิภาพเพียงใด CPI มีอยู่สองประเภท ซึ่งก็คือ CPI และ Core CPI (ไม่รวมราคาพลังงานและราคาอาหารที่ผันผวน) ที่เผยแพร่ออกมาพร้อมกัน เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับข้อมูล CPI มากขึ้น

ดังที่คุณรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางขึ้นอยู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ นั่นคือเหตุผลที่ธนาคารกลางให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ CPI หากการเติบโตของ CPI ออกมาใกล้เคียงหรือสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของประเทศหนึ่ง ธนาคารกลางก็มีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและสกุลเงินก็จะแข็งค่าขึ้นเช่นกัน หากเป็นในทางตรงกันข้าม สกุลเงินก็จะอ่อนค่าลง  

ตัวอย่าง

สหรัฐฯ เผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาแย่เกินการคาดการณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน

4.png

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงและ EUR/USD พุ่งขึ้น 320 จุด ภายใน 30 นาทีหลังการประกาศ

5.png

PMI

จากการที่เราพูดถึง GDP ไปแล้ว เราก็จะพลาด PMI ไปไม่ได้เลย PMI หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นตัวบ่งชี้ที่วัดสภาพเศรษฐกิจของภาคการผลิต จุดมุ่งหมายของดัชนีคือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพธุรกิจในปัจจุบันแก่นักวิเคราะห์ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวบ่งชี้สำหรับการเติบโตของ GDP หรือการลดลงของ GDP อีกด้วย และธนาคารกลางยังใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายการเงินต่างๆ

หาก PMI ร่วงลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง นักลงทุนอาจคาดหวังว่าธนาคารกลางจะมีอารมณ์แบบ dovish ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาอาจลดความเสี่ยงต่อตลาดตราสารทุนของประเทศและเพิ่มเข้าไปในตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆ ด้วยการอ่าน PMI ที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ยุโรปได้เผยแพร่ตัวเลข PMI ที่แข็งแกร่งออกมา ตัวเลขจริงออกมาดีกว่าการคาดการณ์ไว้

6.png

ส่งผลให้ EUR/USD พุ่งขึ้น 415 จุด!

7.png

NFP

NFP หรือ การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในจำนวนผู้มีงานทำในสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนก่อนหน้า แต่ไม่นับรวมอุตสาหกรรมการเกษตร ตัวบ่งชี้นี้มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นข้อมูลบ่งชี้การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยรวม

  • NFP ที่สูงขึ้นส่งสัญญาณถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สุขภาพดีและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
  • NFP ที่ลดลงชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจนั้นอ่อนแอลง ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง

ซึ่ง NFP จะถูกเผยแพร่ออกมาในวันศุกร์แรกของเดือนและทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ยอดเยี่ยมในตลาด Forex เนื่องจาก USD เป็นส่วนหนึ่งของคู่สกุลเงินยอดนิยมหลายคู่

หากตัวเลขที่แท้จริงของการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ การเคลื่อนไหวของ USD จะขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติม เช่น อัตราการว่างงานและรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงนั้นเป็นตัวบ่งชี้เงินเฟ้อและมีผลกระทบอย่างมากต่อนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ดังนั้นบทบาทของธนาคารกลางจึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

ตัวอย่าง

สหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ออกมาดูไม่ค่อยดีนัก เมื่อวันที่ 3 กันยายน มีการจ้างงานชาวอเมริกันเพียง 235,000 คนในเดือนสิงหาคม ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ 750,000 คน

8.png

ส่งผลให้สกุลเงิน USD อ่อนค่าลง และ EUR/USD เพิ่มขึ้น 380 จุด ภายใน 30 นาที!

9.png

เราได้นำเสนอเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่จะมอบโอกาสในการเพิ่มผลกำไรของคุณไปแล้ว ทีนี้ก็มาติดตามเหตุการณ์ในปฏิทินเศรษฐกิจและการเคลื่อนไหวของตลาดกัน สร้างกลยุทธ์การซื้อขายของคุณตามเหตุการณ์เหล่านี้ และทำเงินให้มากขึ้นเลย!

ลงชื่อเข้าใช้

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา