PMI คืออะไร และทำไมมันถึงมีความสำคัญ?

PMI คืออะไร และทำไมมันถึงมีความสำคัญ?

อัปเดทแล้ว • 2023-03-28

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เป็นตัวบ่งชี้ที่วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจของภาคการผลิต จุดมุ่งหมายของดัชนีคือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขทางธุรกิจในปัจจุบันให้กับนักวิเคราะห์, ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ, ผู้มีอำนาจตัดสินใจของบริษัท มันถูกสร้างจากห้าตัวชี้วัดหลัก เช่น ระดับสินค้าคงคลัง, การผลิต, การจัดส่งของซัพพลายเออร์, คำสั่งซื้อใหม่ และสภาพแวดล้อมการจ้างงาน

ข้อมูลถูกรวบรวมมาได้อย่างไร?

ผู้ผลิตหลักของ PMI มี 2 ราย พวกเขาเป็นสถาบันการจัดการอุปทานที่ผลิตตัวชี้วัดสำหรับสหรัฐอเมริกาและ Markit Group ซึ่งดำเนินการในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นพวกเขาจึงทำแบบสำรวจรายเดือนแล้วส่งไปยังฝ่ายจัดซื้อในเกือบ 300 บริษัท ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจะเป็นผู้ตอบคำถามแต่ละข้อในแบบสำรวจ โดยจะให้การประเมิณในแต่ละข้อตามเกณฑ์เช่น “ปรับปรุง”, “ไม่เปลี่ยนแปลง”, “เสื่อมสภาพ”มีสูตรพิเศษที่กำหนดน้ำหนักให้กับแต่ละหัวข้อแล้ว x 1.0 สำหรับการปรับปรุง, x 0.5 สำหรับการไม่เปลี่ยนแปลง และ x 0 สำหรับการเสื่อมสภาพ สุดท้ายตัวเลขที่สูงกว่า 50.0 จะบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ส่วนตัวเลขที่ต่ำกว่านี้จะ - มีการหดตัว

ข้อดีและข้อเสียของ PMI

ข้อดี

  • ตัวเลขจะออกเป็นรายเดือน และระหว่างเดือนปัจจุบัน (หรือเพียงแค่สองสามวันหลังจากนั้น)
  • มันให้การคาดการณ์ที่ดีของข้อมูลในอนาคตเช่น GDP และรายงานภาคการผลิตของหน่วยงานราชการ
  • รายงานจะแสดงคะแนนที่เปลี่ยนไปจากข้อมูลครั้งก่อน
  • ทุกประเทศจะใช้วิธีการวัดแบบเดียวกันเพื่อให้สามารถทำการเปรียบเทียบข้อมูลกันได้

ข้อเสีย

  • มันเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล
  • รายงานของภูมิภาคของสหรัฐอเมริกาจะออกมาก่อนใครและอาจมีค่าสหสัมพัทธ์สูงและทำให้การประกาศนี้ไม่ค่อยมีผล

ทำไมมันจึงมีความสำคัญมาก?

บางคนคิดว่าดัชนีนี้ไม่สำคัญนักเพราะเป็นเพียงการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการ อย่างไรก็ตามมันเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนที่มองหาเบาะแสเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ พวกเขาใช้มาตรการนี้เป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตหรือการเติบโตของ GDP สิ่งสำคัญคือธนาคารกลางใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายการเงินไม่เพียงแต่ข้อมูล PMI ทั้งหมดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบแต่ละตัวก็สามารถนำไปใช้ในตลาดต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น ในตลาดตราสารหนี้เฝ้าดูการเติบโตของการส่งมอบของผู้ขายและราคาที่จ่าย เพราะตัวเลขสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อได้ดัชนีนี้มีความสำคัญไม่เพียงแต่กับภาคการผลิตเท่านั้นแต่กับเศรษฐกิจทั้งหมดด้วยเนื่องจากภาคการผลิตเป็นส่วนสำคัญของมันดังนั้นหาก PMI ลดลงในประเทศหนึ่ง นักลงทุนอาจพิจารณาลดความเสี่ยงของพวกเขาในตลาดทุนของประเทศนั้น และเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆที่มีค่า PMI ที่สูงขึ้น

ปฏิทินเศรษฐกิจของ PMI

เขตยูโรจะประกาศข้อมูล flash PMI ของภาคการผลิตและบริการประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนปัจจุบัน ตัวชี้วัดเหล่านี้จะถูกเผยแพร่โดยประเทศฝรั่งเศส, เยอรมนี และสหภาพฯเอง และมักจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสกุลเงินยูโร ต่อมาในวันแรกของเดือนถัดไป Markit จะเผยแพร่ PMI ขั้นสุดท้ายของยุโรป แต่อย่างไรก็ตามในครั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินยูโรกลับไม่ได้รับอิทธิพลในอเมริกา ISM manufacturing PMI ถูกประกาศในวันทำการแรกหลังจากสิ้นเดือน ส่วนภาคบริการ ISM non-manufacturing PMI จะถูกประกาศในวันทำการวันที่สามหลังจากสิ้นเดือนค่า PMI ของเดือนก่อนหน้าของสหราชอาณาจักรฯจะถูกประกาศในวันแรกของแต่ละเดือน พวกมันมักจะมาไล่ๆกัน: ภาการผลิต, ภาคการก่อสร้าง, ภาคการบริการ อุตสาหกรรมบริการมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรฯมากกว่าในเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ในสหราชอาณาจักรฯ ค่า PMI ของภาคบริการจะถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าส่วนประเทศจีนมี PMI สองชนิด: Caixin manufacturing PMI และ official manufacturing PMI ซึ่ง Caixin manufacturing PMI จะถูกประหาศในวันทำการแรกหลังจากสิ้นเดือน ส่วนข้อมูล Manufacturing PMI จะปรากฏในวันสุดท้ายของเดือนปัจจุบัน ค่า Official manufacturing PMI มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นเมื่อมีการประกาศ Caixin Manufacturing PMI ล่วงหน้า เนื่องจากรายงานทั้งสองมีสหสัมพัทธ์ต่อกัน ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์ที่ซื้อขายสกุลเงิน CNY เท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อ NZD และ AUD เช่นกัน

สรุป

แม้ว่า PMI เป็นตัวบ่งชี้ที่วัดมาจากการสำรวจ แต่ก็เป็นหนึ่งในดัชนีหลักที่แสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยในการคาดการณ์ของผู้ค้าและนักลงทุน ข้อได้เปรียบหลักของดัชนีนี้คือการประกาศจะเร็วกว่าข้อมูลทางการอื่นๆ แถมธุรกิจยังตอบสนองต่อสภาวะตลาดอย่างรวดเร็วและผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของพวกเขาถือข้อมูลล่าสุดและเกี่ยวข้องที่สุดของเศรษฐกิจ

คล้ายกัน

สหสัมพันธ์ของตลาด: เคล็ดลับ & ข้อมูลเชิงลึก
สหสัมพันธ์ของตลาด: เคล็ดลับ & ข้อมูลเชิงลึก

ค่าสหสัมพันธ์เป็นการวัดทางสถิติที่กำหนดว่าสินทรัพย์ต่างๆนั้นมีการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันอย่างไร มันใช้ได้กับทุกหลักทรัพย์อย่างเช่น หุ้น หรือสหสัมพันธ์ของตลาดทั่วไป เช่น การจัดกลุ่มสินทรัพย์ที่มีลักษณะและพื้นฐานคล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือตลาดกว้าง

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?

    คลิกปุ่ม ‘เปิดบัญชี’ บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Personal area ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขายได้ คุณจะต้องผ่านการตรวจสอบโปรไฟล์, ยืนยันอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ, และผ่านการยืนยัน ID ของคุณ ขั้นตอนนี้มีไว้เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเงินทุนและตัวตนของคุณ เมื่อคุณตรวจสอบทั้งหมดเสร็จแล้วให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการแล้วเริ่มทำการซื้อขาย 

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

  • จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?

    ขั้นตอนนั้นตรงไปตรงมามาก ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Personal area แล้วถอนเงิน คุณจะรับเงินที่ถอนผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีด้วยวิธีการอื่น คุณต้องถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในยอดเดียวกันกับจำนวนเงินที่ฝาก

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera