เงินเฟ้อ: คำจำกัดความ คำอธิบาย และตัวอย่าง

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ทุกวันนี้ข่าวทุกหน้ากำลังพูดถึงเงินเฟ้อกัน บทความเศรษฐกิจกำลังขยี้เรื่องนี้กันอย่างหนักหน่วง ผู้คนจำนวนมากกำลังสับสนกับข้อมูลทั้งหมดที่เผยแพร่ออกไป ในตลาด Forex เทรดเดอร์ตรวจสอบตัวบ่งชี้เศรษฐกิจนี้กันเป็นประจำ

บทความนี้จะช่วยให้คุณได้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเงินเฟ้อและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อคืออะไร?

อัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาอัตราแลกเปลี่ยนถึงแม้ว่าองค์ประกอบอื่นๆ จะถูกนำมาพิจารณาด้วยก็ตาม

พูดง่ายๆ ก็คือ เงินเฟ้อ คือ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการทั่วไป เมื่อราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าที่ผู้คนสามารถซื้อได้ในจำนวนเงินเท่าเดิมก็ลดลง ตัวอย่างเช่น เมื่อวานนี้คุณมีเงิน $5 และคุณสามารถซื้อช็อกโกแลตได้ 5 แท่ง แต่วันนี้ในราคา $5 คุณสามารถซื้อช็อกโกแลตได้เพียง 3 แท่งดังนั้นในกรณีนี้ อัตราเงินเฟ้อจึงสูง

ประเภทของเงินเฟ้อ

ไม่ใช่ทุกประเภทของอัตราเงินเฟ้อที่เป็นความหายนะ พวกมันแตกต่างกัน ตั้งแต่อ่อนแอที่สุดไปจนถึงที่รุนแรงที่สุด

เงินเฟ้ออ่อน

เงินเฟ้ออ่อน หมายความว่าราคาเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3% ต่อปี ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถือว่าในช่วงที่ราคาเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2% เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ นี่คือวิธีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยธรรมชาติ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม Fed ถึงได้ตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2%

เงินเฟ้อปานกลาง

นี่คือประเภทของระดับเงินเฟ้อที่เข้มข้นหรือจัดอยู่ในระดับทำลายล้าง โดยปกติจะเป็นระดับตั้งแต่ 3% ถึง 10% ผู้คนเริ่มซื้อมากกว่าที่พวกเขาต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงราคาที่สูงขึ้นในวันต่อไป สิ่งนี้นำไปสู่อุปสงค์ที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ทั้งผู้ผลิตหรือค่าจ้างไม่สามารถตามทันได้ ท้ายที่สุด สินค้าและบริการทั่วไปก็มาถึงจุดที่ราคาสูงเกินไปสำหรับคนส่วนใหญ่

เงินเฟ้อรุนแรง

เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าหรือเท่ากับ 10% มันส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในเวลาเดียวกัน นักลงทุนต่างชาติหลีกเลี่ยงประเทศนั้นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นการกีดกันเงินทุนที่จำเป็น เศรษฐกิจจะเริ่มสั่นคลอน และความน่าเชื่อถือของผู้นำของรัฐบาลจะหายไป โดยจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงได้อย่างถึงที่สุด เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้

เงินเฟ้อรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่พบได้บ่อยกว่าเงินเฟ้อรุนแรงมาก และมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นเป็นระยะๆ แม้ในประเทศส่วนใหญ่ที่พัฒนาแล้วก็เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่น เงินเฟ้อรุนแรงถูกพบในปีหลังสงคราม (ปี 1945-1952) และในปี 1970 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่กำหนดโดย OPEC

ในยุค 2000s จำนวนประเทศที่ประสบภาวะเงินเฟ้อรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อัตราสูงสุดของเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นที่ประเทศแองโกลาในปี 2004-2005 ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ 23%

เงินเฟ้อรุนแรงมาก

เงินเฟ้อรุนแรงมาก เกิดขึ้นเมื่อราคาพุ่งขึ้นมากกว่า 50% ต่อเดือน มันพบได้ยากมากๆ ในความเป็นจริง ตัวอย่างส่วนใหญ่ของเงินเฟ้อรุนแรงมากเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลพิมพ์เงินออกมาเพื่อจ่ายค่าสงคราม ตัวอย่างของ เงินเฟ้อรุนแรงมาก ประกอบด้วย ประเทศเยอรมนีในปี 1920, ประเทศซิมบับเวในยุค 2000s และประเทศเวเนซุเอลาในปี 2010 ในสหรัฐอเมริกา ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงมากเกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมือง

ภาวะเงินเฟ้อลดลง vs. ภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืด คือการลดลงของระดับราคาของสินค้าและบริการทั่วไป มันเป็นกระบวนการของราคาที่ลดลงมา ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อของสกุลเงิน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณอาจมีเงินจำนวนเท่าเดิม แต่เนื่องจากราคาลดลง เงินดอลลาร์ของคุณก็จะมีค่ามากขึ้นไปอีก ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของภาวะเงินฝืดคือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ (Great Depression)

ภาวะเงินฝืดเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับ GDP เพราะคนไม่ซื้อสินค้ากัน เนื่องจากพวกเขารอให้ราคาลดลง ธนาคารกลางไม่เพียงแต่ต้องจัดการกับภาวะเงินเฟ้อเท่านั้น ภาวะเงินฝืดก็เช่นกัน

สิ่งนี้แตกต่างจากภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งเป็นเพียงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ (และความเร็วของการเปลี่ยนแปลงนั้นมักจะถูกทำเครื่องหมาย) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงเกิดขึ้นเมื่อการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของผู้บริโภคชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้านี้ในตอนที่ราคาพุ่งสูงขึ้น

ภาวะ Stagflation

ภาวะ Stagflation คือ การรวมกันของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว (stagnation) และภาวะเงินเฟ้อ (inflation) เข้าด้วยกัน มันเป็นช่วงเวลาที่ราคายังเฟ้ออยู่ แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจหยุดนิ่ง มันเป็นไปได้อย่างไร? หากมีอุปสงค์ไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้ แล้วทำไมราคาถึงยังสูงขึ้นอยู่ล่ะ?

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 1970 เมื่อสหรัฐอเมริกาไม่สนใจระบบมาตรฐานทองคำ เมื่อมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ได้ผูกกับทองคำอีกต่อไป มูลค่าของมันก็เลยร่วงลง ในขณะเดียวกัน ราคาของทองคำพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ในเวลานั้นประธานของธนาคารกลางสหรัฐฯ คุณ Paul Volcker ได้หยุดภาวะ Stagflation ไว้ได้โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ Fed เป็นตัวเลขสองหลัก เขาคงมันไว้นานพอที่จะขจัดความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต

เงินเฟ้อจากค่าจ้างสูง

เงินเฟ้อจากค่าจ้างแรงงานเป็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างเล็กน้อย มันหมายความว่าคนงานได้รับการจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้น แน่นอนว่าทุกคนคิดว่าพวกเขาสมควรได้รับค่าจ้างของตัวเองเพิ่มขึ้น แต่ค่าจ้างที่สูงขึ้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของต้นทุนที่สูงขึ้น โดยสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ราคาสินค้าและบริการของบริษัทที่เพิ่มขึ้นได้

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน จะวัดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกลไกของตลาด กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของราคาที่สะท้อนถึงสภาวะอุปทานและอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น

เงินเฟ้อประเภทนี้จะเติบโตในที่สุด หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (Economic shock), การเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิตอย่างรุนแรง (Supply shock), การเปลี่ยนแปลงของราคา หรือสิ่งรบกวนที่คาดเดาไม่ได้อื่นๆ

ช่วงเวลาสำคัญ

เงินเฟ้อพื้นฐาน

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานวัดจากการเพิ่มขึ้นของราคาที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ สิ่ง ยกเว้นอาหารและพลังงาน เพราะราคาของสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจากฤดูกาล การยกเว้นนี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความแม่นยำมากกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในการวัดแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐาน นั่นคือสาเหตุที่ธนาคารกลางต้องการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในการกำหนดนโยบายการเงิน พวกเขาใช้มันเป็นตัวบ่งชี้หลักต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นเวลานาน มันอาจส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อพื้นฐานโดยการเพิ่มความคาดหวังราคา

CPI พื้นฐาน VS CPE พื้นฐาน

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) และดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) CPI วัดราคาของสินค้าและบริการในครัวเรือน PCE แสดงถึงราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค ดังนั้นหากเป็นตัวบ่งชี้ "พื้นฐาน" นั่นหมายถึง ยกเว้น อาหารและพลังงาน PCE พื้นฐาน และ CPI พื้นฐาน เป็นเหมือนพี่น้องสองคน พวกเขาทั้งสองช่วยกำหนดปริมาณเงินเฟ้อในเศรษฐกิจ

วิธีการคำนวณเงินเฟ้อ

ตอนนี้เราก็ได้รู้เกี่ยวกับคำจำกัดความของเงินเฟ้อกันไปแล้ว มาดูกันว่าเราจะสามารถทำการวัดและวิเคราะห์มันได้อย่างไร

วิธีการวัดเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อวัดจากอัตราเงินเฟ้อ, การเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ราคาตั้งแต่ปีหนึ่งถึงอีกปีหนึ่ง อัตราเงินเฟ้อสามารถวัดได้หลายวิธี:

  1. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) วัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผู้บริโภคที่ได้ซื้อสินค้าและบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยใช้ตะกร้าสินค้าเฉพาะบางอย่าง โดยขึ้นอยู่กับการสำรวจครัวเรือน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายของตะกร้านั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ ตะกร้าใบหนึ่งจะประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม, การดูแลทางการแพทย์, การคมนาคม ฯลฯ
  2. ในทางกลับกัน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) วัดเงินเฟ้อจากมุมมองของผู้ผลิต PPI เป็นตัวบ่งชี้ของราคาเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับจากสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ มันถูกคำนวณโดยการนำราคาปัจจุบันที่ผู้ขายได้รับจากตะกร้าตัวแทนสินค้า หารด้วยราคาในปีฐานเฉพาะ แล้วคูณผลลัพธ์ด้วย 100
  3. ดัชนีทั่วไปที่สาม คือ ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) PCE วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการในครัวเรือนตามข้อมูล GDP จากผู้ผลิต มันมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่า CPI เพราะฐานราคาที่ใช้ในการประมาณการมาจากสิ่งที่ใช้ใน CPI แต่ก็รวมถึงการประมาณการจากแหล่งอื่นด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับทั้งดัชนีอื่นๆ การเพิ่มขึ้นของดัชนีจากหนึ่งปีถึงอีกปีหนึ่ง บ่งชี้ถึงอัตราเงินเฟ้อ

ทำไมเทรดเดอร์ถึงควรรู้เกี่ยวกับเงินเฟ้อ

การประกาศของ CPI (ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบในปฏิทินเศรษฐกิจ) เป็นที่นิยมอย่างมากในเหล่าเทรดเดอร์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อโดยตรงระหว่างอัตราเงินเฟ้อ ธนาคารกลาง และสกุลเงิน ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่พยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2%

เมื่อเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เป็นผลให้อุปสงค์ของสกุลเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจึงเพิ่มขึ้น และในทางกลับกัน: เมื่อเงินเฟ้อต่ำเกินไป ธนาคารกลางสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ อุปสงค์ของสกุลเงินส่วนใหญ่จะลดลง ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจึงลดลง

โดยมันจะมีอิทธิพลต่อทุกสกุลเงินทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ USD เพราะในขณะนี้สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่ 7.5%

มาดูตัวอย่างกัน:

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021 สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกาเผยแพร่หนึ่งในอัตรา CPI ที่สูงที่สุด 0.9% ในปี 2021 หลังจากที่ได้เผยแพร่ไป USD แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เช่น USD/CAD เพิ่มขึ้น 2,060 จุด:

1.png

เมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลง เทรดเดอร์จะเดิมพันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะพิจารณาในการช่วยพยุงราคาของหุ้นและตราสารหนี้หรือไม่ ในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เทรดเดอร์มักจะเชื่อว่าสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อย่างเช่นสินค้าโภคภัณฑ์ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ Fed มีแนวโน้มที่จะลดการกระตุ้นเศรษฐกิจลง

เทรดเดอร์ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่า CPI ที่เผยแพร่ออกมานั้นแข็งแกร่งหรืออ่อนแอกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากมีช่วงเวลาแห่งไม่แน่นอนจึงเป็นโอกาสที่สมบูรณ์แบบในการเทรด เพราะในกรณีใดก็ตามที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ของประกาศที่ออกมาจะกระตุ้นความผันผวน ซึ่งมอบโอกาสมากมายสำหรับกลยุทธ์การซื้อขาย

โดยสรุปแล้ว ไม่ใช่เงินเฟ้อทุกประเภทที่น่ากลัว ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมในการซื้อขายจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดตามการประกาศของ CPI, PPI และ CPE

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา