-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
Velocity of money
อัตราการหมุนเวียนของเงิน
อัตราการหมุนเวียนของเงินคืออะไร
อัตราการหมุนเวียนของเงินเป็นตัววัดความเร็วในการแลกเปลี่ยนเงินในเศรษฐกิจ นี่คือจำนวนครั้งที่เงินถูกย้ายจากองค์กรหนึ่งไปยังอีกองค์กรหนึ่ง นอกจากนี้มันยังหมายถึงจำนวนของหน่วยสกุลเงินที่ถูกใช้ในช่วงเวลาที่กำหนด พูดง่ายๆได้ว่ามันคืออัตราที่ผู้บริโภคและธุรกิจในระบบเศรษฐกิจใช้จ่ายเงินโดยรวม
อัตราการหมุนเวียนของเงินมีความสำคัญต่อการวัดอัตราที่เงินหมุนเวียนถูกใช้ในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนจะใช้เพื่อวัดอัตราที่เงินถูกใช้เพื่อสินค้าและบริการต่างๆในระบบเศรษฐกิจ และเพื่อประเมินสุขภาพและความอยู่รอดของเศรษฐกิจ อัตราการหมุนเวียนของเงินสูงหมายถึงเศรษฐกิจที่มีความแข็งแรงและกำลังขยายตัว ในทางกลับกัน อัตราการหมุนเวียนของเงินช้าจะหมายถึงการถดถอยและการหดตัว
อัตราการหมุนเวียนของเงินและเศรษฐกิจ
แม้ว่าอัตราการหมุนเวียนของเงินจะไม่ใช่ตัวบ่งชี้หลักของเศรษฐกิจ แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถติดตามมันร่วมกับตัวบ่งชี้สำคัญอื่นๆที่ช่วยกำหนดสถานะทางเศรษฐกิจ เช่น GDP, อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ GDP และปริมาณเงินเป็นองค์ประกอบสองประการของสูตรคำนวณอัตราการหมุนเวียนของเงิน
ประเทศที่มีอัตราการหมุนเวียนของเงินกว่าประเทศอื่นๆนั้นมีแนวโน้มที่จะพัฒนามากกว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราการหมุนเวียนของเงินนั้นจะผันผวนตามวัฏจักรธุรกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในขั้นเติบโต ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมักจะเต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการหมุนเวียนของเงินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจหดตัว ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมักไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายเงิน ส่งผลให้อัตราการหมุนเวียนของเงินช้าลง
เนื่องจากอัตราการหมุนเวียนของเงินมักจะสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจ มันจึงสามารถสัมพันธ์กับตัวชี้วัดหลักๆได้อีกด้วย ดังนั้นอัตราการหมุนเวียนของเงินมักจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆกับ GDP และอัตราเงินเฟ้อ และตรงกันข้าม มันจะลดลงเมื่อตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น GDP และอัตราเงินเฟ้อนั้นลดลงในเศรษฐกิจที่หดตัว
สูตรการคำนวณของอัตราการหมุนเวียนของเงิน
ตามกฎแล้วอัตราการหมุนเวียนของเงินจะถูกใช้ในระดับที่ใหญ่กว่ามากเพื่อวัดกิจกรรมการทำธุรกรรมของประชากรทั้งประเทศ โดยทั่วไป ตัวบ่งชี้นี้จะถูกแสดงในรูปแบบของการหมุนเวียนของปริมาณเงินของทั้งเศรษฐกิจ นอกจากนี้ St. Louis Federal Reserve ยังติดตามอัตราการหมุนเวียนของเงินรายไตรมาสโดยใช้ทั้ง M1 และ M2
นักเศรษฐศาสตร์มักจะใช้ GDP และ M1 หรือ M2 เพื่อหาปริมาณเงิน M1 เป็นการวัดแบบคร่าวๆของปริมาณเงินซึ่งรวมถึงสกุลเงิน, เงินฝากเผื่อเรียก, และเงินฝากสภาพคล่องอื่นๆ และเงินฝากออมทรัพย์ ส่วน M2 จะเป็นหน่วยวัดปริมาณเงินซึ่งรวมถึงเงินสด, เงินฝากกระแสรายวัน, และสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินที่แปลงเป็นเงินได้ง่าย
ดังนั้น สมการอัตราการหมุนเวียนของเงินคือ GDP หารด้วยปริมาณเงิน
อัตราการหมุนเวียนของเงิน = GDP ÷ ปริมาณเงิน
โดยปกติแล้ว GDP จะถูกตั้งเป็นตัวเศษในสูตรคำนวณอัตราการหมุนเวียนของเงิน หรือจะใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ก็ได้เล่นกัน GDP คือจำนวนรวมของสินค้าและบริการต่างๆในระบบเศรษฐกิจที่พร้อมให้ซื้อได้ ส่วนในตัวส่วน นักเศรษฐศาสตร์มักจะกำหนดอัตราการหมุนเวียนของเงินสำหรับทั้ง M1 และ M2
ตัวอย่างของอัตราการหมุนเวียนของเงิน
สมมติว่าเศรษฐกิจมีผู้ใช้เงินเพียงสองคนคือนาย A และนาย B และแต่ละคนมีเงินสด $100 นาย A ซื้อรถยนต์จากนาย B ในราคา $100 ตอนนี้นาย B จะมีเงินสดในมือ $200 จากนั้น นาย B ก็เอาเงินไปซื้อบ้านจากนาย A เป็นจำนวน $100 แถมนาย B ยังจ้างนาย A ให้ช่วยต่อเติมบ้านอีกในราคา $100 ทีนี้นาย A ก็มีเงินสดในมือ $200 ต่อมานาย B ได้ขายรถยนต์ให้กับนาย A อีกครั้งในราคา $100 ทำให้จบลงด้วยการที่ทั้งนาย A และนาย B มีเงินสดคนละ $100 ด้วยเหตุนั้น ทั้งสองฝ่ายในเศรษฐกิจได้ทำให้เกิดธุรกรรมคิดเป็นมูลค่า $400 แม้ว่าแต่ฝ่ายจะมีเงินเพียง $100 ก็ตาม
ในเศรษฐกิจนี้ อัตราการหมุนเวียนของเงินก็คือสอง ซึ่งคำนวณมาจาก $400 หาร $200 การทวีคูณของมูลค่าของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการนี้เกิดขึ้นได้ด้วยอัตราการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ
อัปเดทแล้ว • 2022-09-19