FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม

06 เม.ย. 2025

สกุลเงิน

ค่าเงินปอนด์และตลาดหุ้นอังกฤษเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ภาพรวมตลาด

    ค่าเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ยังคงเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายหลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 10% ต่อสินค้าจากสหราชอาณาจักร ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อภาคการส่งออกโดยตรงแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอีกด้วย ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเริ่มออกมาเตือนว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงถัดไป หากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทั่วโลกยังส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาแข็งค่าขึ้นในระยะสั้นจากแรงซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยง และยิ่งซ้ำเติมแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินปอนด์ในช่วงต่อจากนี้

     ขณะเดียวกัน ดัชนี FTSE 100 หรือ UK100 ได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงท่ามกลางแรงสั่นสะเทือนจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยดัชนีร่วงลงเกือบ 5% ภายในวันเดียว ซึ่งนับเป็นการลดลงรายวันที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ในปี 2020 โดยกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เหมืองแร่ ธนาคาร และอุตสาหกรรม ล้วนเผชิญแรงขายอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อผลกระทบของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่อาจหดตัวลงในระยะกลาง แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะอยู่ระหว่างการเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อตกลงใดที่เป็นรูปธรรมออกมา ความไม่แน่นอนเชิงนโยบายที่ยังไม่คลี่คลาย บวกกับแรงกดดันด้านต้นทุนและภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นอังกฤษยังคงเผชิญแนวโน้มขาลงในระยะสั้นถึงกลาง

     ในด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วภาระเหล่านี้อาจถูกผลักไปยังผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากภาคธุรกิจไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่อัตรากำไรเริ่มถูกบีบให้แคบลงอย่างต่อเนื่อง สัญญาณของความเสี่ยงด้านการจ้างงานเริ่มชัดเจนมากขึ้นในหลายภาคส่วน ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็อยู่ในทิศทางถดถอยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเร่งเจรจาข้อตกลงกับสหรัฐฯ เพื่อผ่อนคลายผลกระทบ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในเชิงปฏิบัติ หากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศยืดเยื้อหรือทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลลบต่อทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ค่าเงินปอนด์ และตลาดทุนของอังกฤษในภาพรวม โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสถัดไป

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

GBPUSD     

คู่เงิน GBPUSD ในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง ปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง หลังจากที่ราคาทะลุหลุดกรอบแนวรับสำคัญ (กรอบสีแดง) ที่บริเวณ 1.28927 ลงมาอย่างรุนแรง ระกอบกับสัญญาณ RSI ได้ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 37.18 บ่งชี้ถึงแรงขายที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ MACD Histogram ได้ลดระดับลงชัดเจนเช่นกัน สะท้อนโมเมนตัมเชิงลบที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ แนวรับถัดไปที่ต้องจับตามองอยู่บริเวณ 1.27520 ซึ่งหากราคายังคงปรับตัวลดลงต่อ ก็มีแนวโน้มที่จะลงไปทดสอบที่ระดับดังกล่าว ขณะที่แนวต้านสำคัญที่ราคาจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง คือบริเวณ 1.31492

GBUUSD, H41556.png

UK100

ดัชนี FTSE 100 (UK100) กำลังเผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง หลังจากที่ราคาหลุดกรอบแนวรับสำคัญ (กรอบสีแดง) ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นฐานรับราคามาอย่างยาวนาน การหลุดแนวรับในลักษณะนี้ไม่เพียงเป็นสัญญาณยืนยันของแนวโน้มขาลงที่กำลังดำเนินอยู่เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงแรงกดดันจากฝั่งขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย โดยสัญญาณทางเทคนิคอย่าง RSI ก็ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มายืนอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 12.90 ซึ่งอยู่ในโซน Oversold อย่างหนัก สื่อถึงภาวะที่แรงขายเข้าครอบงำตลาดอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน MACD Histogram ยังคงเคลื่อนไหวในแดนลบและขยายตัวลงต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ตอกย้ำถึงโมเมนตัมเชิงลบที่ยังคงอยู่ในตลาด ทั้งนี้ แนวรับถัดไปที่มีโอกาสที่ราคาจะลงไปทดสอบคือบริเวณ 7,795.39 จุด ซึ่งเป็นระดับสำคัญที่อาจช่วยชะลอแรงขายในระยะสั้น หากราคายังไม่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นไปได้ ส่วนในทางกลับกัน หากเกิดแรงซื้อกลับเข้ามาและดัชนีสามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 8,338.53 จุด ได้อย่างมั่นคง ก็อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการกลับตัวเป็นขาขึ้นในระยะสั้นอีกครั้ง แต่จนกว่าจะมีสัญญาณดังกล่าว ตลาดยังคงถูกครอบงำโดยแรงกดดันขาลงอย่างชัดเจน

UK100, H41557.png

การซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้มาร์จิ้นมีความเสี่ยงสูงและอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากการใช้เลเวอเรจที่สูงสามารถทำให้ทั้งกำไรและขาดทุนที่อาจได้รับเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การประเมินเป้าหมายการลงทุน ประสบการณ์ และความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเองอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งจำเป็น

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:
Witsawa Lattaponpakorn

ผู้เขียน: Witsawa Lattaponpakorn

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก