FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม

05 ก.ค. 2025

จิตวิทยา

ความเกลียดชังการสูญเสียและผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน

ความเกลียดชังการสูญเสียคืออะไรและเหตุใดจึงสำคัญ?

ไม่มีใครชอบขาดทุน นักลงทุนจำนวนมากจึงพยายามหลีกเลี่ยงการขาดทุนอย่างถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม ความเกลียดหรือกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) ก็เป็นสาเหตุของข้อผิดพลาดในการซื้อขายส่วนใหญ่ นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับการขาดทุนมากกว่ากำไรที่มีมูลค่าเท่ากัน ซึ่งส่งผลเสียต่อการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

ผู้เล่นในตลาดทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดรายวันหรือผู้จัดการพอร์ตของสถาบันขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องเคยเห็นสถานะติดลบ (อยู่ในสีแดง) บนหน้าจอบ้างเป็นครั้งคราว การขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดาและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยสิ้นเชิง สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าการขาดทุนเกิดจากอะไร และเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงในอนาคต

คำจำกัดความและที่มา

ความเกลียดชังหรือกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) เป็นปรากฏการณ์ที่ค้นพบในปี 1979 โดยนักจิตวิทยา Daniel Kahneman และ Amos Tversky ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี “Perspective Bias” ที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อย่างมาก งานวิจัยของพวกเขาชี้ให้เห็นว่า ผลทางจิตวิทยาจากการสูญเสียเงิน 100 ดอลลาร์ รุนแรงกว่าความรู้สึกยินดีจากการได้กำไร 100 ดอลลาร์ในจำนวนที่เท่ากัน กล่าวคือ มนุษย์รู้สึกเจ็บปวดจากการขาดทุนมากกว่าความพึงพอใจที่ได้จากกำไรที่เท่ากัน

การวัดค่าความไม่สมดุลที่เกิดจากความกลัวการขาดทุน พบว่าอยู่ที่ประมาณ 2 ต่อ 1:

มูลค่าทางจิตใจของการขาดทุน มีค่ามากกว่ากำไรที่เท่ากันประมาณสองเท่า

งานวิจัยในเวลาต่อมาได้ยืนยันผลลัพธ์เหล่านี้ในวัฒนธรรมอื่น ๆ และประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย แสดงให้เห็นว่าอคติในจิตใจมนุษย์นั้นฝังลึกและคงอยู่เสมอ เราสามารถเห็นความไม่สมดุลนี้ได้ทั้งบนหน้าจอของแพลตฟอร์มการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย และในห้องประชุมของนักลงทุนสถาบัน ความไม่สมดุลนี้ส่งผลต่อการจัดสรรสินทรัพย์ งบประมาณความเสี่ยง และแม้แต่การวางกลยุทธ์ในระดับมหภาค

คำจำกัดความและที่มา

ผลกระทบของความกลัวการขาดทุนต่อการตัดสินใจลงทุน

ในระดับพอร์ตการลงทุน ความกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า Disposition Effect ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนมักถือสินทรัพย์ที่ขาดทุนไว้นานเกินไป และขายสินทรัพย์ที่ได้กำไรเร็วเกินไป

พฤติกรรมนี้บิดเบือนการกระจายกำไรในระยะยาว และส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกำโรรวม อคตินี้ยังทำให้นักลงทุนซื้อขายมากเกินไปอีกด้วย เช่น เมื่อนักลงทุนปิดสถานะที่ขาดทุน พวกเขาอาจรีบเปิดสถานะใหม่เพื่อพยายามเอาทุนคืนทันที ซึ่งการกระทำแบบนี้อาจนำไปสู่การขาดทุนที่มากขึ้น และเสียค่าคอมมิชชันเพิ่มโดยไม่จำเป็น

เมื่อเทรดเดอร์พยายามหลีกเลี่ยงความเสียใจเสียดายอย่างสุดโต่ง สถานการณ์อาจแย่ลงอีก พวกเขาอาจหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นที่นิยม เพราะการตัดสินใจผิดนั้นไม่อาจยอมรับได้

นักลงทุนสถาบันก็ไม่ต่างกัน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอาจลดขีดจำกัดมูลค าของความเสี่ยง (Value-at-Risk (VaR)) สำหรับตลาดที่ผันผวน ไม่ใช่เพราะความผันผวนเป็นสิ่งจำเป็นเท่านั้น แต่เพราะพวกเขายังจำความเจ็บปวดจากความรุนแรงของตลาดในอดีตได้ พฤติกรรมนี้ส่งผลเสียต่อการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต จำกัดโอกาส และลดการเติบโตโดยรวมในระยะยาว

ตัวอย่างในการซื้อขายจริง

การยึดถือสถานะที่ขาดทุน

ตัวอย่างที่พบบ่อยคือการถือครองสถานะที่ขาดทุนเอาไว้ นักลงทุนบางคนอาจเก็บสินทรัพย์ที่มูลค่าลดลงไว้ โดยหวังว่ามันจะฟื้นกลับมาในอนาคต นี่เรียกว่า "การเสียดายต้นทุนจม" (Sunk Cost Fallacy)

การขายหมายถึงการยอมรับความขาดทุน และการขาดทุนก็เป็นสิ่งที่เจ็บปวดเกินจะทนรับไหว! ดังนั้นนักลงทุนจึงมักจะถือสินทรัพย์ที่ขาดทุนนานเกินไป และบางครั้งก็อาจขาดทุนมากขึ้นในท้ายที่สุด

การขายทำกำไรเร็วเกินไป

ความกลัวการขาดทุนยังทำให้นักลงทุนขายทำกำไรเร็วเกินไป เช่น คุณซื้อสินทรัพย์ที่ราคา $50 โดยคาดว่าจะขึ้นไปถึง $60 แต่กลับขายที่ $55 เพราะกลัวว่ากำไรเล็กน้อยนี้จะหายไป

เมื่อคุณกลัวการสูญเสียมากกว่าที่คุณรู้สึกดีกับกำไร คุณก็จะปิดการซื้อขายทันทีที่เห็นกำไรเล็กน้อย และพลาดโอกาสที่จะทำกำไรได้มากกว่า

ความกลัวความเสี่ยง

อีกตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อเทรดเดอร์ไม่กล้ารับความเสี่ยงแม้ในกรณีที่จำเป็น เทรดเดอร์อาจไม่เปิดการซื้อขายที่ออกแบบมาอย่างดีเพราะกลัวขาดทุน แม้ว่าการวิเคราะห์จะบ่งชี้ว่ามีโอกาสทำกำไรได้ อคตินี้อาจทำให้พลาดโอกาสและได้รับผลตอบแทนที่ต่ำลง

กลยุทธ์เพื่อเอาชนะความเกลียดชังการสูญเสีย

แม้ว่าความกลัวการขาดทุนจะเป็นเรื่องธรรมชาติและได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยหลายชิ้น แต่ก็มีขั้นตอนปฏิบัติที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบของมันต่อการตัดสินใจของคุณ การตั้งกฎไว้ล่วงหน้าและการมีวินัยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

แผนการลงทุนที่ยึดตามกฎช่วยส่งเสริมความเป็นกลางในการตัดสินใจ

ตัวอย่างเช่น คุณตั้งกฎไว้ว่า หากราคาสินทรัพย์ลดลง 7% จากราคาที่คุณซื้อ คุณจะปิดสถานะทันทีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในทางกลับกัน คุณอาจตั้งจุด Take-Profit หรือใช้ Trailing Stop เพื่อรักษากำไร

เคล็ดลับเพื่อลดผลกระทบของความเกลียดกลัวการสูญเสีย

  • ใช้คำสั่ง Stop Loss และตั้งระดับปิดสถานะไว้ล่วงหน้าสำหรับทุกการซื้อขาย คำสั่งหยุดขาดทุน (Stop Loss) จะขายสินทรัพย์ให้โดยอัตโนมัติเมื่อราคาลดลงถึงระดับที่กำหนดไว้ ทำให้คุณตัดขาดทุนแทนที่จะถือครองสถานะที่ขาดทุนต่อไปเพราะความหวังหรือความกลัว

  • ปฏิบัติตามกฎการออกจากการซื้อขายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อกำจัดอารมณ์ในการตัดสินใจ คุณควรทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ใช่ตามความกลัวการขาดทุนของตัวเอง กำหนดกฎของคุณให้ไม่สามารถเจรจาเปลี่ยนแปลงได้ และยึดมั่นในกฎนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความขัดแย้งภายในที่เกิดจากความไม่สามารถยอมรับความขาดทุนในสถานะที่ขาดทุนได้

  • วิเคราะห์การซื้อขายทุกครั้งหลังเทรดเสร็จ เพื่อดูว่าความกลัวการขาดทุนมีผลต่อการกระทำของคุณหรือไม่ และเสริมสร้างนิสัยที่ดี

  • กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อจำกัดผลกระทบจากสถานะขาดทุนเพียงสถานะเดียว

  • สร้างวินัยในการลงทุนเพื่อเอาชนะความกลัวการขาดทุน

  • พัฒนาการตระหนักรู้ในตัวเองด้วยการจดบันทึกการซื้อขาย

การจดบันทึกการซื้อขายช่วยพัฒนากลยุทธ์ของคุณได้อย่างไร

ใช้สมุดบันทึกการซื้อขายของคุณเพื่อจดบันทึก:

  • การซื้อขายแต่ละครั้ง

  • เหตุผลที่เข้าเทรด

  • จุดที่ตั้งใจจะออกจากการซื้อขาย

  • ความรู้สึกของคุณ

หากคุณบันทึกเหตุผลในการกระทำและผลลัพธ์ แล้วกลับมาทบทวนสมุดบันทึกบ้างเป็นระยะ คุณจะเริ่มรู้จักรูปแบบพฤติกรรมของตัวเอง รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความขาดทุน เช่น คุณอาจสังเกตได้ว่าคุณมักตั้งคำถามกับตัวเองว่า ควรขายสินทรัพย์ที่ราคากำลังลดลงหรือไม่ หรือควรล็อกกำไรก่อนเวลาหรือเปล่า การรับรู้ถึงนิสัยเหล่านี้คือก้าวแรกในการแก้ไข

สรุปใจความสำคัญ

ตลาดให้รางวัลกับความมีวินัย ไม่ใช่ความกล้าหาญเกินเหตุ ความเกลียดกลัวการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิทยามนุษย์ แต่คุณสามารถหยุดไม่ให้มันควบคุมการตัดสินใจซื้อขายแต่ละครั้งได้ หากคุณเข้าใจความไม่สมดุลของความสำคัญระหว่างการขาดทุนและกำไร และนำเครื่องมือกับรูปแบบการปฏิบัติมาใช้เพื่อลดผลกระทบของความกลัวการขาดทุนในการเทรดของคุณ

แน่นอนว่าถ้าคุณเอาชนะอคตินี้ได้ อาจไม่ใช่การวางรากฐานสำหรับกำไรระยะยาวโดยตรง แต่จะช่วยตัดปัจจัยสำคัญที่มักทำลายความสามารถในการทำกำไรของคุณออกไปได้

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก