1. FBS >
  2. บล็อก FBS >
  3. คำสั่ง Limit vs คำสั่ง Stop: ภาพรวม
อัปเดทแล้ว • 2023-05-29

คำสั่ง Limit vs คำสั่ง Stop: ภาพรวม

TRFNEW-1656 Limit Order vs Stop Order_ What's the Difference_.png

ออเดอร์การซื้อขาย คือ คำขอที่เทรดเดอร์ส่งเข้าไปในตลาดหรือตัวกลางการลงทุนออนไลน์ใดๆ (เช่น โบรกเกอร์) เพื่อซื้อขายสินทรัพย์บางประเภท นี่คือเรื่องพื้นฐาน หากคุณไม่เข้าใจสาระสำคัญของมัน คุณก็จะไม่สามารถซื้อขายได้

ในบทความนี้ เราจะพิจารณาคำสั่งหลักๆ สามประเภทของหุ้น สกุลเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อนุญาตให้คุณกำหนดเงื่อนไขเฉพาะได้ ได้แก่ คำสั่ง Stop, คำสั่ง Limit และ คำสั่ง Stop Limit เราจะบอกให้คุณได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างคำสั่งเหล่านี้และวิธีการใช้งาน

นอกจากนี้ เหล่ามือใหม่จะได้พบข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายในส่วนการวิเคราะห์ของเรา รวมถึงอภิธานศัพท์ที่คุณควรอ่านก่อนที่คุณจะเรียนรู้วิธีเปิดหรือปิดออเดอร์ ถ้างั้นก็ไปเริ่มกันเลย!

คำสั่ง Stop

คำสั่ง Stop มาพร้อมกับการระบุราคาของสินทรัพย์ซึ่งยังไม่พร้อมให้เทรดในขณะนั้น มันหมายความว่าโบรกเกอร์จะซื้อหรือขายสินทรัพย์เมื่อราคาถึงระดับที่กำหนดไว้

คำสั่ง Stop คืออะไร?

คุณอาจสับสนกับคำสั่ง Stop Loss ที่ใช้ในการปิดการเทรดที่ขาดทุนกับคำสั่ง Stop ที่ใช้ในการเปิดการเทรด เมื่อราคาไปถึงระดับของคำสั่งแล้ว คำสั่งก็จะถูกกระตุ้น สิ่งที่คุณควรทำคือการกำหนดราคา Stop ตัวอย่างเช่น กำหนดราคาไว้ที่ $500 เมื่อราคาไปถึงระดับที่กำหนด คำสั่งจะถูกดำเนินการที่ราคาตลาดใดๆ หากไม่มีสินทรัพย์ที่ราคานั้นในตลาด คำสั่งก็จะไม่ถูกดำเนินการ

คุณสามารถใช้คำสั่ง Stop ในตลาดเพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ได้ คำสั่ง Buy Stop ดำเนินการเมื่อราคา Stop ที่กำหนดสูงเกินราคาตลาดปัจจุบัน Sell ​​Stop จะดำเนินการในราคาที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวช่วยให้สามารถเลือกระดับเข้าเทรดที่ดีที่สุดและซื้อหรือขายสินทรัพย์เมื่อราคาทะลุแนวต้านหรือแนวรับ

คุณใช้คำสั่ง Stop Loss อย่างไร?

ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว คำสั่ง Stop Loss มักใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียในตำแหน่งเพื่อความปลอดภัย มาดูตัวอย่างที่แสดงวิธีการวางคำสั่ง Stop Loss กัน

คุณสามารถตั้งคำสั่ง Stop Loss ให้ต่ำกว่าราคาที่คุณซื้อ 10% ได้ ดังนั้นหากราคาร่วงลง สินทรัพย์จะถูกขาย โดยจะขาดทุนไป 10%

สมมติว่าคุณซื้อหุ้นที่ราคา $50 ต่อหุ้น หลังจากการเทรดนี้ คุณวางคำสั่ง Stop Loss ทันที โดยระบุราคา Stop Loss ไว้ที่ $45 หากหุ้นร่วงต่ำกว่า $45 การเทรดจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ และหุ้นจะถูกขายในราคาตลาด

โปรดทราบว่าในกรณีที่มีความผันผวนสูงหรือมีการร่วงลงอย่างรวดเร็ว ราคานี้อาจต่ำกว่า $45 โบรกเกอร์จะเลือกราคาตลาดที่ดีที่สุด ณ เวลาปัจจุบันตามเงื่อนไขของคุณ

ขอย้ำอีกครั้ง คำสั่ง Stop จะดำเนินการเมื่อราคาถึงจุดที่กำหนดที่ราคาปัจจุบันใดๆ เช่นเดียวกับคำสั่งตลาด ตัวอย่างเช่น หากหุ้นยังคงร่วงอยู่เหนือราคา Stop Sell คำสั่งสามารถดำเนินการได้ในราคาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หากเราตั้งค่าคำสั่ง Stop Buy เมื่อถึงราคาที่กำหนด สินทรัพย์จะถูกซื้อในราคาใดๆ ที่สูงกว่าราคา Stop

เราขอแนะนำให้ใช้คำสั่ง Stop Loss ในการซื้อขาย เมื่อ:

  1. ราคาของสินทรัพย์ที่คุณได้ซื้อมาแล้วและเป็นเจ้าของตอนนี้พุ่งขึ้น และคุณต้องการได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาก่อนที่มันจะร่วงลง
  2. คุณคาดหวังว่าแนวโน้มขาขึ้นจะดำเนินต่อไป แต่คุณต้องการปกป้องเงินทุนของคุณจากการขาดทุนในกรณีที่ตลาดร่วงลงและขายสินทรัพย์ก่อนที่ราคาจะต่ำเกินไป

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าหากมันไปถึงที่ราคา Stop การซื้อขายสามารถดำเนินการได้ในราคาที่ใกล้ที่สุดซึ่งตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่อาจยังคงแตกต่างไปจากราคาเข้าหรือออกที่คุณระบุ การเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับตลาดปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีขีดจำกัดที่อยู่เบื้องหลังคำสั่ง Stop โอนไปยังคำสั่งตลาด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของคำสั่ง Stop Loss คือมันสามารถใช้งานได้เลยโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ คุณจ่ายค่าคอมมิชชันเหมือนที่เคยจ่ายเป็นประจำสำหรับการเทรดนั้น นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องติดตามตลาดอย่างต่อเนื่องอีกด้วย มันมีประโยชน์มากหากคุณไม่ต้องการเฝ้าดูสินทรัพย์การลงทุนของคุณตลอดเวลา

นอกจากนี้ คุณไม่จำเป็นต้องตัดสินใจลงทุนภายใต้อิทธิพลของอารมณ์ แน่นอนว่า มันไม่ใช่ว่าคุณจะไม่ต้องทำการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบเลยซะทีเดียว แต่เมื่อคุณจำกัดการเทรด ความเสี่ยงก็จะลดลง

TRFNEW-1656 Limit Order vs Stop Order_ What's the Difference_2.png

คำสั่ง Limit

แล้วคำสั่ง Limit ในหุ้นคืออะไร? คำสั่ง Limit สามารถเปรียบเทียบกับคำสั่ง Stop เมื่อดำเนินการในราคาที่กำหนด แต่ในกรณีนี้เรียกว่าราคา Limit และมาพร้อมกับข้อแตกต่างที่สำคัญ ราคาที่ซื้อขายต้องทำกำไรได้ไม่น้อยกว่าราคาที่กำหนด

คำสั่ง Limit นั้นมีหลากหลายประเภท โดยรู้จักกันดีในชื่อ คำสั่ง Take Profit เมื่อคุณวางคำสั่ง Take Profit คุณจะต้องระบุราคาที่แน่นอน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถดำเนินการซื้อขายที่มีกำไรได้ หากราคาของสินทรัพย์ไม่ถึงราคาที่กำหนด คำสั่ง Take Profit จะไม่ถูกดำเนินการ

มาดูความแตกต่างระหว่าง Buy Limit และ Buy Stop กันดีกว่า

คำสั่ง Limit ทำงานอย่างไร?

คำสั่ง Limit อนุญาตให้โบรกเกอร์ขายหรือซื้อสินทรัพย์ในราคาไม่น้อยกว่าหรือไม่เกินราคา Limit ตามลำดับ เราจะเห็นความแตกต่างที่สำคัญหากเราเปรียบเทียบกับคำสั่ง Stop คำสั่ง Stop จะดำเนินการที่ราคาตลาดใดๆ เมื่อถึงราคา Stop แม้ว่าคำสั่ง Limit จะดำเนินการที่ราคา Limit หรือที่ราคาดีกว่า แต่มันจะถูกนำมาใช้เมื่อแนวโน้มที่ดีมีโอกาสเกิดขึ้นสูง ซึ่งช่วยให้สามารถซื้อหรือขายได้ในราคาที่ดีกว่าได้

สมมติว่าคุณจะซื้อสินทรัพย์ที่ราคา $50 หากคุณตั้งค่านี้เป็นราคา Limit ออเดอร์ของคุณจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อราคาตลาดไปถึง $50 หากมันไปไม่ถึงจุดนั้น ออเดอร์นั้นก็จะไม่ถูกดำเนินการ และมันเป็นที่รู้กันว่าคุณไม่สามารถกำหนดราคา Limit เป็นราคา ณ ขณะนั้นได้ คุณจะใช้ Buy Stop หากราคาปัจจุบันต่ำกว่า $50 เมื่อราคาเพิ่มขึ้นถึงระดับนี้ ออเดอร์ซื้อจะเปิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หากมันไม่เพิ่มขึ้นไปถึง $50 ออเดอร์นั้นก็จะไม่ถูกดำเนินการ

ตัวอย่างคำสั่ง Limit มีอะไรบ้าง?

คุณรู้สึกสับสนนิดๆ กับข้อมูลข้างต้นหรือไม่? Limit หมายถึงอะไรในหุ้น? มาสรุปไปด้วยกันเถอะ

ตัวอย่างเช่น คุณต้องการซื้อ (หรือขาย) หุ้นอย่างรวดเร็ว ทางออกที่เหมาะสมที่สุดคือการวางคำสั่งซื้อขายในตลาด ซึ่งโดยทั่วไปจะดำเนินการอย่างรวดเร็วที่ราคาหุ้นปัจจุบัน สมมติว่าเท่ากับ $150 หรือคุณอาจต้องการซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อราคาของมันลดลงเหลือ $100 ณ จุดนี้ขอแนะนำให้คุณวางคำสั่ง Limit Buy โดยมีราคา Limit เท่ากับ $100 หากราคามาถึงจุดนี้ คำสั่ง Limit จะถูกดำเนินการ แต่ถ้าราคาไม่ถึง $100 หุ้นนี้ก็จะไม่ถูกซื้อ

เราหวังว่าหากคุณพิจารณา Buy Limit กับ Buy Stop คุณจะเข้าใจถึงความแตกต่าง กลไกเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณต้องการขายหุ้นในราคาสูงสุดที่เป็นไปได้ สำหรับตัวอย่างของคำสั่ง Sell Limit มาลองพิจารณากรณีเดียวกันนี้ไปด้วยกัน หากคุณต้องการขายหุ้นในราคาสูงสุดที่เป็นไปได้ คุณควรวางไว้เหนือราคาตลาดปัจจุบัน สมมติว่าคุณกำหนดไว้ที่ $160 คำสั่งจะดำเนินการในราคานี้หรือสูงกว่า

การเปรียบเทียบ Sell Limit กับ Sell Stop จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าคุณต้องการอะไรในตอนนี้ มีอีกประเด็นที่ควรต้องทำความเข้าใจ เมื่อราคาตลาดปัจจุบันถึงค่า Limit ที่กำหนด คำสั่งอาจยังไม่ถูกดำเนินการ เหตุผลก็คือมีคำสั่งซื้อขายที่วางคำสั่งไว้ก่อนคุณ ซึ่งอ้างสิทธิ์ในหุ้นเดียวกันในราคา Limit การดำเนินการตามคำสั่ง Limit มักจะดำเนินการตามลำดับก่อนหลัง

TRFNEW-1656 Limit Order vs Stop Order_ What's the Difference_3.png

คำอธิบายของคำสั่ง Stop Limit

ตอนนี้คุณเข้าใจความแตกต่างของคำสั่ง Limit กับคำสั่ง Stop แล้ว อีกอย่าง ถ้าคุณไม่เคยวางคำสั่งซื้อขายมาก่อน เราแนะนำให้ดูคำแนะนำสั้นๆ ของเราที่จะบอกคุณเกี่ยวกับวิธีปิดและเปิดคำสั่งซื้อขาย อย่าลืมประเภทคำสั่งที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งไปเชียว ซึ่งก็คือคำสั่ง Stop Limit นั่นเอง คำสั่งนี้มีให้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 เท่านั้น

คำจำกัดความนั้นของมันก็ง่ายๆ มันเป็นคำสั่งที่รวมคุณสมบัติของคำสั่งที่กล่าวถึงข้างต้นทั้งสองอย่างเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อคุณใช้คำสั่ง Stop Limit คุณควรจะระบุราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบันสำหรับสินทรัพย์ที่คุณต้องการซื้อ หรือระบุราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบันสำหรับสินทรัพย์ที่คุณต้องการขาย เมื่อถึงราคาที่กำหนด คำสั่ง Limit จะถูกวางโดยอัตโนมัติ ณ ราคาที่ระบุ ซึ่งเรียกว่าราคา Stop Limit กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประการแรก ประเภทคำสั่งนี้ดูเหมือนคำสั่ง Stop แต่เมื่อราคาปัจจุบันถึงราคา Stop มันจะกลายเป็นการเทรดแบบ Limit หมายความว่าการเทรดจะดำเนินการที่ราคา Stop Limit (หรือดีกว่า) นี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการควบคุมราคาและการเทรดภายในช่วงที่กำหนด

คำสั่ง Stop Limit ทำงานอย่างไร?

โดยคำสั่งประเภทนี้ได้รวมคำสั่ง Stop ในตลาดเมื่อคุณวางคำสั่งซื้อ (ขาย) ที่ราคาตลาดที่ดีที่สุดหลังจากถึงราคาที่ระบุ และคำสั่ง Limit เมื่อคุณวางคำสั่งซื้อ (ขาย) สินทรัพย์ในราคาที่กำหนดหรือดีกว่า ด้วยวิธีนี้ มันจะจำกัดการขาดทุนโดยรับประกันว่าการซื้อขายจะดำเนินการในราคาที่เหมาะสม

คุณควรตั้งคำสั่ง Stop Limit เพื่อส่งไปให้โบรกเกอร์ มันปรากฏอยู่ในสมุดคำสั่งซื้อขายและรอที่จะดำเนินการ มันสามารถเรียกใช้งานได้เมื่อตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ซึ่งมันสามารถยกเลิกได้โดยเทรดเดอร์และสามารถหมดอายุได้ตราบเท่าที่มีการระบุระยะเวลาที่ถูกต้อง ดังนั้น หากไม่มีราคาสำหรับสินทรัพย์ที่คุณต้องการ และสมมุติว่าระยะเวลาคือหนึ่งวัน คำสั่งซื้อขายนั้นจะหมดอายุเมื่อเซสชันของตลาดสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม มีตัวเลือกอยู่หลากหลาย คุณสามารถตั้งค่าคำสั่ง Good till Canceled ได้ ซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้อขายนั้นจะไม่มีวันหมดอายุหากคุณไม่ยกเลิกมัน

เรามาพูดถึงความเสี่ยงที่มาพร้อมกับคำสั่ง Stop Limit กัน:

  1. คุณไม่มีการรับประกันในการดำเนินการ ราคาตลาดอาจไปไม่ถึงราคา Limit ของหุ้น นอกจากนี้ คิวในการสั่งซื้อขายอาจยาวเกินไป เทรดเดอร์รายอื่นที่วางคำสั่งก่อนหน้าคุณสามารถทำกำไรได้จากราคาที่คุณกำหนดเป็นราคา Limit ได้
  2. การดำเนินการบางส่วน เมื่อคุณต้องการซื้อขายด้วยสินทรัพย์จำนวนหนึ่ง (หุ้น) คุณอาจซื้อหรือขายบางส่วนด้วยเหตุผลที่อธิบายไว้ข้างต้น คือการขาดแคลนหุ้นในราคา Limit หรือที่ราคาดีกว่า คำสั่งจะถูกเปิดทิ้งไว้ และนั่นจะทำให้เกิดค่าคอมมิชชันหลายรายการ คุณจะต้องจ่ายเพิ่มสำหรับการเทรดนั้น

ตัวอย่างคำสั่ง Stop Limit มีอะไรบ้าง?

เราจะยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณซื้อหุ้นที่ $500 และคุณแน่ใจว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะสูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง คุณได้รับคำแนะนำว่าให้วางคำสั่ง Stop Limit ซึ่งช่วยให้คุณสามารถขายหุ้นเหล่านี้ได้หากราคาตลาดต่ำกว่าค่า Stop ในเวลาเดียวกัน คุณไม่ต้องการขายหุ้นที่ราคาต่ำเกินไปและตั้งราคา Limit ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดสำหรับการซื้อขาย

ดังนั้น คุณกำหนดราคา Stop ไว้ที่ $490 และราคา Limit ไว้ที่ $490.50 ด้วยเหตุนี้ คำสั่งควรจะดำเนินการเมื่อราคาหุ้นถึง $490 และราคาร่วงลงอย่างต่อเนื่อง แต่แม้ว่าราคาจะลดลงเหลือ $489 (ต่ำกว่าราคา Stop) คำสั่งก็จะไม่ถูกดำเนินการหากในขณะนั้นไม่มีผู้ซื้อที่พร้อมจะซื้อสินทรัพย์ที่ราคา $490.50 (ราคา Limit) ในตัวอย่างนี้ ราคา Stop แตกต่างจากราคา Limit แต่คุณสามารถตั้งค่าเดียวกันได้สำหรับคำสั่งซื้อขายเพียงรายการเดียว

สรุป

การใช้คำสั่งประเภทต่างๆ จะเพิ่มโอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ผลกำไรนั้นไม่มีการรับประกัน เนื่องจากคำสั่งอาจไม่ถูกดำเนินการหากราคาตลาดไปไม่ถึงราคา Stop หรือราคา Limit

เราหวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณได้เห็นภาพรวม เพื่อช่วยให้คุณเทรดได้โดยมีความเสี่ยงที่ต่ำลง ตอนนี้คุณก็ได้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Buy Limit กับ Buy Stop, คำสั่ง Stop กับคำสั่ง Limit ฯลฯ แล้ว คอยติดตามเราต่อไปเพื่อที่จะได้รู้ข่าวการตลาดและอุตสาหกรรมสุดฮอตก่อนใคร!

  • 3113

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera