ดัชนี Big Mac ในการซื้อขายฟอเร็กซ์

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

1_642x361_cover.png

แม้จะมีการโต้เถียงกันเรื่องอาหารขยะ แต่ Big Mac ก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่รักของคนทั่วโลก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า Big Mac ยังเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจด้วยนะ?

อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับดัชนี Big Mac, ความหมายของมัน, วิธีการสร้างดัชนี และวิธีการนำไปใช้ในการซื้อขาย

แพตตี้เนื้อวัวล้วนสองชิ้น

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน จะโตเกียว มอสโก โคลอมโบ หรือออสโล คุณสามารถออกไปข้างนอก ตรงไปที่แมคโดนัลด์ที่ใกล้ที่สุด และรับประทานแพตตี้เนื้อวัวล้วนสองชิ้น ผักกาด ชีส แตงกวาดอง และหัวหอม ราดด้วยซอสสูตรพิเศษและประกบบนล่างด้วยขนมปังสองชิ้นได้ คุณสามารถซื้อ Big Mac ให้ตัวคุณเองได้หนึ่งชิ้น พร้อมรับ 500 แคลอรีโดยประมาณที่เต็มไปด้วยความสุข หรืออาจจะไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับนิสัยการกินของคุณ

ในแต่ละประเทศ บิ๊กแม็ค (Big Mac) มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของรูปลักษณ์ ขนาด และแคลอรี แต่สูตรพื้นฐานสำหรับแฮมเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกยังคงเหมือนเดิม

ส่วนผสมของ Big Mac ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่พบได้ทั่วไปในเกือบทุกประเทศ สิ่งที่ลูกค้าประจำซื้อทุกวันในร้านขายของชำในท้องถิ่น: หัวหอม, เนื้อสัตว์, ผักกาดหอม, ชีส, ผักดอง ฯลฯ ดังนั้นคุณอาจเรียกได้ว่าเป็นตะกร้าสินค้าพร้อมใช้ นั่นเป็นเหตุผลที่ในช่วงกลางของยุค 80 The Economist ได้เลือกการกำหนดราคาของเบอร์เกอร์นี้เป็นเครื่องมือง่ายๆ สำหรับการวิเคราะห์สกุลเงิน

ทำความรู้จักกับดัชนี Big Mac

1_642x361_2.png

ดัชนี Big Mac ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1986 โดย The Economist หนึ่งในนิตยสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในธุรกิจระหว่างประเทศ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม

ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 170 ปี ทำให้ The Economist ได้รับการยกย่องว่าเป็นมาตรฐานทองคำสำหรับรายงานข่าวเศรษฐกิจและสถานการณ์โลก พนักงานของนิตยสารนี้ประกอบด้วยนักข่าวมากความสามารถและผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา The Economist ได้แนะนำดัชนีต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย ดัชนี Democracy, ดัชนี Glass Ceiling, ดัชนี Most Dangerous Cities, ดัชนี Commodity-Price และดัชนี Big Mac โดยการอ้างอิงจากราคาของ Big Mac ในประเทศต่างๆ แล้วนั้น ดัชนีนี้ควรให้การประเมินค่าสกุลเงินที่แม่นยำมากขึ้น ไม่มีคำไหนที่จะอธิบายได้ดีไปกว่านี้แล้ว

สมมติจากสองประเทศนี้ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน เราเปรียบเทียบราคาของ Big Mac ในสองประเทศนี้ โดยแสดงเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ความแตกต่างของราคาจะทำให้เราได้อัตราแลกเปลี่ยนของ Big Mac ซึ่งมักจะแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เราได้รับจากแหล่งที่เป็นทางการ จากนั้น เราสามารถบอกต่อได้ว่าสกุลเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป

ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน Big Mac ดอลลาร์ต่อหยวน เราได้อัตราส่วนคร่าวๆ ที่ 1:4 ซึ่งก็คือ $5.93 สำหรับแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ และ ¥24.9 ในจีน ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เราได้มีแนวคิดอีกอย่างหนึ่งว่า สกุลเงินหยวนของจีนควรมีมูลค่าเท่าไร ซึ่งก็คือ ¥4.20 ต่อ $1 เทียบกับอัตราอย่างเป็นทางการคือ ¥6.7 ต่อ $1

วิธีการกินนี้เรียกอีกอย่างว่า Burgernomics มันอ้างจากทฤษฎี PPP ซึ่งย่อมาจาก Purchasing Power Parity (ทฤษฎีความเสมอภาคด้านอำนาจซื้อ) แนวคิดนี้เสนอไอเดียที่ว่า ในระยะยาว อัตราแลกเปลี่ยนควรมุ่งไปสู่การทำให้ราคาเท่ากันสำหรับตะกร้าสินค้าและบริการที่เหมือนกันในสองประเทศใดๆ ในกรณีนี้ตะกร้าสินค้าดังกล่าวคือ Big Mac

ดัชนี Big Mac แสดงถึงอะไร?

แม้ว่าดัชนี Big Mac แทบจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่แม่นยำสำหรับการระบุมูลค่าของสกุลเงินได้ แต่ถึงอย่างนั้น ข้อมูลนี้ก็สามารถให้ผลลัพธ์และแนวคิดที่คาดไม่ถึงได้

ตัวอย่างเช่น ตามดัชนี Big Mac รูเบิลรัสเซียเป็นสกุลเงินที่มีมูลค่าต่ำที่สุดในโลก (-69.9%) ในประกาศล่าสุด หนึ่งดอลลาร์มีมูลค่ามากกว่า 70 รูเบิล ในขณะที่ Big Mac ในรัสเซียมีราคาเพียง $1.74 ซึ่งเป็นราคาของเบอร์เกอร์ที่ต่ำที่สุดในโลก! ดังนั้น จากมุมมองของดัชนี Big Mac หนึ่งดอลลาร์ควรมีมูลค่าเพียง 23 รูเบิล

1_642x361_3.png

สกุลเงินอื่นที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ได้แก่ ลีราตุรกี, ปอนด์เลบานอน, ริงกิตมาเลเซีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย และลิวโรมาเนีย

ดัชนี Big Mac แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินฟรังก์ของสวิตเซอร์แลนด์เป็นสกุลเงินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก คุณจะต้องใช้เงิน 6.98 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อ Big Mac ที่สวิตเซอร์แลนด์โดยอัตราดัชนี Big Mac อยู่ที่ 1.12 ฟรังก์ต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแสดงให้เห็นว่าอัตรา USDCHF อยู่ที่ 0.93 ซึ่งหมายความว่าสกุลเงินฟรังก์ของสวิสเซอร์แลนด์มีมูลค่าสูงเกินไปถึง 20.16% เช่นเคย มันก็คงจะเป็นเช่นนั้นหากเราเลือกที่จะทำให้เศรษฐศาสตร์เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยทิ้งข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดออกไป

เราสามารถใช้การเปรียบเทียบราคาของ Big Mac เพื่อซื้อขายได้หรือไม่?

แม้จะมีชื่อที่ตลกน่าขบขัน แต่ดัชนี Big Mac หรือ Burganomics ไม่ได้เป็นเพียงวิธีที่จะล้อเล่นตลกๆ กับเศรษฐกิจ มันได้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้ หนังสือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์และการศึกษาเชิงวิชาการที่หลากหลายได้รวมดัชนีนี้เอาไว้ด้วย เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบสกุลเงิน

แต่มันเป็นเครื่องมือพยากรณ์ที่ดีพอจะสามารถใช้สำหรับการซื้อขายได้หรือไม่?

เหตุผลหนึ่งที่เทรดเดอร์อาจใช้ดัชนีนี้ในการพยากรณ์ตลาด ก็คือการสร้างแผนที่เส้นทางที่เป็นไปได้สำหรับตำแหน่งที่ตลาดอาจกำลังมุ่งหน้าไป อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรพิจารณาปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อราคาของแฮมเบอร์เกอร์ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่แน่ชัดว่าตลาดจะไปที่ทิศทางใด

สรุป

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าดัชนี Big Mac ไม่ได้พิจารณาความผันผวนเล็กน้อยในระยะสั้นของตลาด Forex มันมุ่งเน้นไปที่ระยะยาวแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อจับคู่กับตัวบ่งชี้อื่นๆ และมีข้อมูลตลาดต่างๆ จำนวนมากมาช่วยเสริม ดัชนีนี้อาจมีประโยชน์ที่ช่วยติดอาวุธให้กับการซื้อขายที่มีอยู่ของคุณ

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถระบุดัชนี Big Mac เมื่อทำการซื้อขาย Forex กับ FBS เพื่อดูว่าจะส่งผลต่อกลยุทธ์และผลลัพธ์ของคุณอย่างไรได้

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ดัชนี Big Mac คืออะไร?

ดัชนี Big Mac เป็นเครื่องมือที่ The Economist คิดค้นขึ้นในปี 1986 เพื่อวัดความไม่สมดุลของกำลังซื้อของผู้บริโภคระหว่างประเทศต่างๆ ดัชนีนี้ใช้เบอร์เกอร์แทน "ตะกร้าสินค้า" ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่แสดงความแตกต่างของราคาผู้บริโภค

ดัชนี Big Mac ใช้เปรียบเทียบอะไร?

ดัชนี Big Mac เปรียบเทียบราคาของเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงในประเทศต่างๆ เพื่อให้มุมมองอีกทางหนึ่งว่าสกุลเงินประจำชาติมีมูลค่าเป็นเท่าไร ซึ่งผลลัพธ์มักขัดแย้งกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ

สกุลเงินอาจถูกมองว่ามูลค่าสูงเกินหรือต่ำเกินไปได้อย่างไร?

มูลค่าของสกุลเงินอาจถูกมองว่ามีมูลค่าสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ขึ้นอยู่กับว่ามีความจำเป็นต้องสร้างสมดุลทางการค้าหรือไม่ สกุลเงินที่ถูกประเมินว่ามูลค่าต่ำเกินไป ก็แสดงว่าสินค้าของประเทศมีราคาไม่แพงมากในตลาดโลก ส่วนสกุลเงินที่มีมูลค่าสูงเกินไปก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำเข้า

ดัชนี Big Mac เป็นการวัดผลที่เหมาะสมสำหรับ PPP หรือไม่?

ดัชนี Big Mac เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ PPP อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรมองว่าดัชนีเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบสกุลเงินสากล

Big Mac PPP คืออะไร?

Big Mac PPP (PPP ย่อมาจาก Purchasing Power Parity) เป็นรายงานประจำปีที่เปรียบเทียบสกุลเงินต่างๆ ตามราคาสัมพัทธ์ของ Big Mac ทั่วโลก

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา