การลดกำลังการผลิตของ OPEC อาจกดดันสินทรัพย์เสี่ยง

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน หลังจากที่ OPEC+ ได้ประกาศว่าพันธมิตรจะลดกำลังการผลิตลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2023 เมื่อรวมกับการลดกำลังการผลิตครั้งล่าสุดของรัสเซียลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว ในเดือนมีนาคม การลดลงโดยรวมจะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2023

บทความนี้จะอธิบายถึงอนาคตของตลาดน้ำมันและเหตุผลที่สินทรัพย์เสี่ยงทั้งหลายจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันหลังการตัดสินใจของ OPEC+

แนวโน้มของ Brent

XBRUSDWeekly.png

XBRUSD – กราฟรายสัปดาห์

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นครั้งใหม่ XBRUSD ได้ดีดตัวออกจากเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ 200 สัปดาห์ และทะลุเส้นแนวโน้มขาลง แนวต้านสำคัญในขณะนี้คือ 91.00 ซึ่งตรงกับเส้น MA 50 สัปดาห์ หากราคาทะลุระดับนี้ออกไปได้ หนทางสู่ 120.00 จะถูกเปิดขึ้น ในกรณีนี้ แคนาดาจะมีการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทำให้สกุลเงิน CAD แข็งค่าขึ้นอย่างมาก

ดอลลาร์สหรัฐ

การกลับตัวของราคาน้ำมันที่ได้ลดลงมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2022 อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราเงินเฟ้อได้ยากขึ้น ซึ่งจะบีบให้พวกเขาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น

เหตุผลก็คือการกระทำของ "กลุ่มผู้ผลิต" อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาโดยรวมคือฝ่ายบริหารของไบเดนจะไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันด้วยการระบายน้ำมันในคลังที่สะสมไว้ในยุคของทรัมป์ได้เหมือนเมื่อ 2 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน น้ำมันคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1980 ทำให้การปรับราคาเป็นเรื่องที่ยากขึ้นมากสำหรับสหรัฐฯ

นอกจากนี้ อุปทานที่ลดลงในตลาดน้ำมันจะลดลงอีกในช่วงฤดูร้อนที่ผู้คนขับรถออกเที่ยว ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันจึงถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน

สิ่งนี้จะกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น ซึ่ง Fed จะไม่สามารถผ่อนปรนนโยบายล่วงหน้าเพื่อช่วยธนาคารต่าง ๆ ได้

โดยมีความเป็นไปได้สูงว่าการลดลงของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจะชะลอตัวลง นั่นหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะผลักดันให้สกุลเงิน USD แข็งค่าขึ้น

UsDollarWeekly.png

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) – กราฟรายสัปดาห์

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเข้าใกล้แนวรับที่ 101.20 หากผู้ซื้อรักษาระดับนี้ไว้ได้ ดัชนีอาจสร้างรูปแบบ Double Bottom โดยมีเป้าหมายที่ 105.20 และ 108.58 ซึ่งมีระยะ 4,000 และ 7,500 จุดตามลำดับ

สินทรัพย์เสี่ยง

การพุ่งขึ้นอีกครั้งของราคาน้ำมันอาจผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้เข้าใกล้ขอบของภาวะถดถอยในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อที่สูง อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และวิกฤตธนาคารจะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ กู้เงินเพื่อการพัฒนาใหม่ ๆ และการใช้จ่ายในปัจจุบันได้ยาก ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ อาจเลิกจ้างพนักงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ การร่วงลงของสินทรัพย์เสี่ยงดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

US500Weekly.png

US500 – กรอบเวลารายสัปดาห์

ดัชนี US500 กำลังเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ 100 สัปดาห์ และ 200 สัปดาห์ ขณะนี้ราคากำลังไปทดสอบที่แนวต้านที่ 4,170.00 และดูเหมือนว่าผู้ขายจะไม่ยอมแพ้ที่ระดับนี้ หากราคาร่วงลง จะเกิดรูปแบบตลาดหมี “Head and Shoulders” หากมีการยืนยันการกลับตัว ราคาจะปิดรูปแบบโดยมีเป้าหมายที่ใกล้ที่สุดที่ 3,570.00

BTCUSDDaily.png

BTCUSD – กรอบเวลารายวัน

BTCUSD กำลังถูกซื้อขายในกรอบแนวนอนระหว่าง 26,800 และ 28,700 ผู้ขายสามารถรักษาระดับแนวต้านเอาไว้ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม วิกฤตธนาคารระลอกใหม่อาจทำให้มันพุ่งขึ้นสู่ระดับ 31,600 ได้ หากมันเกิดขึ้น เทรดเดอร์อาจพิจารณาเข้าซื้อในตอนที่ทะลุระดับ 28,700 แล้วขายที่ระดับ 31,600

ในสถานการณ์ตรงกันข้าม หากราคาทะลุขอบล่างของกรอบ BTCUSD จะร่วงลงสู่ระดับ 25,000

สรุป

การตัดสินใจของ OPEC+ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดการเงินในปี 2023 เนื่องจากราคาน้ำมันส่งจะผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของครัวเรือนและประชาชนทั่วไป ในระยะกลาง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอาจส่งผลดีต่อ USD และกดดันตราสารที่มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับสกุลเงินดอลลาร์ เช่น สกุลเงินดิจิทัล และตลาดหุ้น

เทรดเดี๋ยวนี้

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา