วิธีการอ่านงบดุลเพื่อเทรดหุ้น
หากคุณได้ลงทุนในหุ้นบางตัวแล้วหรือต้องการที่จะลงทุนในหุ้นสักตัว สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจวิธีการอ่านงบดุล หลังจากที่คุณมีทักษะนี้แล้ว คุณก็จะสามารถลงทุนในหุ้นได้ โดยที่ไม่ใช่การลงทุนแบบใช้สัญชาตญาณ แต่เป็นการลงทุนอย่างมืออาชีพ คุณจะได้รู้วิธีค้นหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทและคาดการณ์ศักยภาพของบริษัทได้
งบดุลและงบการเงินอื่นๆ
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงงบดุลกัน แต่ขอให้ทราบไว้ว่านี่เป็นเพียงหนึ่งในสามงบการเงินหลักๆ เท่านั้น ซึ่งงบการเงินหลักอื่นๆ ได้แก่ งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด นั่นเอง ทั้งหมดนี้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เปิดเผยผลประกอบการทางการเงินของบริษัทแห่งหนึ่ง
งบดุลทำงานอย่างไร
งบดุลนั้นบอกได้ทุกอย่าง มันสามารถบอกคุณได้ว่าบริษัทมีเงินเพียงพอที่จะลงทุนในการพัฒนาและเติบโตต่อไปหรือว่าบริษัทมีหนี้เยอะมากแค่ไหน โดยรวมแล้ว งบดุลเป็นบันทึกทางการเงินที่เปิดเผยสินทรัพย์ของบริษัท (สิ่งที่มีอยู่แล้ว) และหนี้สิน (สิ่งที่เป็นหนี้ผู้อื่น) มันถูกเรียกว่า งบดุล เนื่องจากแต่ละด้านต้องเท่ากัน สินทรัพย์เท่ากับหนี้สินบวกกับส่วนของผู้ถือหุ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สินทรัพย์ใดก็ตามที่ไม่ได้ถูกใช้เพื่อชำระหนี้นั้นเป็นของผู้ถือหุ้น
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนที่สำคัญของงบดุล
สินทรัพย์
โดยปกติ คุณจะเห็นสินทรัพย์ที่จุดเริ่มต้นของงบดุล ปกติแล้วสินทรัพย์นั้นจะแบ่งออกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ความแตกต่างของสองอย่างนี้คืออะไร? สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี ในขณะที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือเป็นสินทรัพย์ระยะยาวที่อาจใช้เวลานานกว่านั้นในการที่จะพิจารณามูลค่าเต็ม ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์หมุนเวียนอาจประกอบด้วยลูกหนี้การค้า (เงินที่ลูกค้ายังไม่ได้ชำระ) สินค้าคงเหลือ หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมักจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น ที่ดิน ทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิบัตร
หนี้สิน
หนี้สินมักจะถูกจัดวางไว้หลังสินทรัพย์ในงบดุล เช่นเดียวกับสินทรัพย์ หนี้สินก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน โดยใช้ตรรกะเดียวกัน ตัวอย่างของหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่ ค่าเช่า ภาษี และค่าจ้าง ในขณะที่หนี้สินระยะยาว ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาวและสัญญาเช่าซื้อทุน
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้นคือมูลค่าที่เหลือหลังจากหักหนี้สินออกจากสินทรัพย์แล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นมักจะรวมการถือหุ้นในบริษัทและกำไรสะสม (รายได้ที่เหลือหลังจากที่บริษัทจ่ายเงินปันผล)
คุณจะหาอ่านงบดุลได้ที่ไหน?
1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) และเว็บไซต์ EDGAR มีข้อมูลงบดุลทุกประเภท คุณสามารถค้นหาบริษัทที่คุณสนใจได้เลย
2. เปิดรายงานประจำปี 10-K
3. ค้นหาส่วนที่เรียกว่า 'งบการเงินรวม'
คุณควรจะเห็นสิ่งที่คล้ายกับภาพด้านล่าง
ที่มา: www.sec.gov
วิธีการอ่านงบดุล
งวดงบดุลของบริษัท (โดยปกติคือหนึ่งปี) จะเรียงติดกันเป็นแนวตั้ง โดยการเรียงในรูปแบบนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และสามารถทำการประเมินสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้
ตัวอย่างเช่น งบดุลที่แข็งแกร่งของ Netflix ในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 มีสินทรัพย์ 39.28 ล้านดอลลาร์ ในปี 2019 สินทรัพย์ถูกบันทึกไว้ที่ 33.98 ล้านดอลลาร์ และในช่วงเวลานั้นพวกเขาได้รับสินทรัพย์เพิ่มมา 5 ล้านดอลลาร์
Netflix มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็น 28.2 ล้านดอลลาร์ โดยเพิ่มจากในปี 2019 ที่มีหนี้สินอยู่ 26.4 ล้านดอลลาร์
หลังจากการวิเคราะห์สั้นๆ นี้ นักลงทุนจะเห็นว่า Netflix มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวม 9.76 ล้านดอลลาร์ และหนี้สินหมุนเวียนรวม 7.8 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นบริษัทจึงมีเงินมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้
หากเราหารสินทรัพย์หมุนเวียนด้วยหนี้สินหมุนเวียน เราจะได้อัตราส่วนทุนหมุนเวียน การวัดผลนี้จะทดสอบระดับความเสี่ยงทางการเงินในระยะสั้น Netflix มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนอยู่ที่ 1.25 บางบริษัทมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่สูงบ้างและต่ำบ้างขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเงิน โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่มีสินทรัพย์และหนี้สินควรมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่สูงกว่า 1 เพื่อให้อยู่ในสถานะทรงตัว
อัตราส่วนอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว: (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ ) ÷ หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น: หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
เงินทุนหมุนเวียน: สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน
มูลค่าสุทธิ: สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม
ผลประกอบการจะพอดีกับงบดุลได้อย่างไร?
คุณอาจสังเกตเห็น "กำไรสะสม" ตรงส่วนของทุนที่ด้านล่างของงบดุล ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรตรวจสอบ เมื่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้รับเงินทุน ก็สามารถเลือกที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินปันผล หรือเก็บรายได้เหล่านี้ไว้เพื่อนำกลับมาลงทุนในธุรกิจของบริษัท ดังนั้น กำไรสะสมจึงเป็นกำไรในอดีต ลบด้วยเงินปันผลที่บริษัทจ่ายไปในอดีต
งบดุลที่อ่อนแอ
หากต้องการทราบว่าบริษัทมีงบดุลที่อ่อนแอ คุณจะต้องมองหาปัญหาต่างๆ เมื่อบริษัทประสบปัญหา โดยทั่วไปงบดุลจะเปิดเผยปัญหาบางอย่างให้เราได้ทราบ ซึ่งบางส่วนนั้นแสดงจะให้เห็นดังข้อมูลที่แสดงด้านล่าง
- กำไรสะสมติดลบหรือขาดดุล
กำไรสะสมแสดงจำนวนเงินที่บริษัทได้รับลบด้วยเงินปันผล เรียกอีกอย่างว่ากำไรส่วนเกินเนื่องจากเป็นทุนสำรองซึ่งบริษัทสามารถใช้เพื่อการลงทุนกลับเข้าสู่ธุรกิจใหม่อีกครั้งได้ ตัวอย่างเช่น Netflix มีกำไรสะสมที่เป็นบวก
- เงินทุนติดลบ
หากกำไรสะสมขาดดุลเกินจำนวนทุนที่บริษัทมีแสดงว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดี
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำ
หากเราหารสินทรัพย์หมุนเวียนด้วยหนี้สินหมุนเวียน เราจะได้อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ถ้าต่ำกว่า 1 ก็ถือว่าต่ำ
งบดุลที่แข็งแกร่ง
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่สูงเป็นเพียงสัญญาณที่ดีของงบดุลที่แข็งแกร่ง ด้านล่างนี้คืออัตราส่วนที่โดดเด่นอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณว่างบดุลนั้นดี
- เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
ไม่มีสิ่งอื่นใดที่สามารถแสดงให้เห็นถึงบริษัทที่แข็งแกร่งได้มากไปกว่าเงินสดและการลงทุนระยะสั้น สิ่งนี้จะไม่เพียงแต่ให้ความคุ้มครองสำหรับหนี้สินหมุนเวียนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บริษัทสามารถคืนมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้
- หนี้สินระยะยาวต่ำ
การจำนองเป็นหนึ่งในฝันร้ายที่สุดสำหรับคนส่วนใหญ่ และพวกเขาต้องการชำระให้หมดโดยเร็วที่สุด บริษัทก็ไม่ต่างกัน หนี้ระยะยาวคือเงินที่บริษัทกู้ยืมมาและต้องจ่ายคืนภายในเวลามากกว่าหนึ่งปี บางครั้งช่วงเวลานั้นอาจยาวนานถึง 30 ปี!
บริษัทที่มีหนี้สินระยะยาวต่ำหรือเป็นศูนย์อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำการลงทุน ตัวอย่างเช่น PayPal และ Facebook
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
"สิ่งที่จับต้องไม่ได้" แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่มีร่างกายทางกายภาพอย่างทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิที่บริษัทเป็นเจ้าของ โดยทั่วไปแล้ว สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ต้องการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ นอกเหนือจากการพัฒนาครั้งแรก อย่างไรก็ตาม โอกาสในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์เหล่านั้นมีอยู่มากทีเดียว! ตัวอย่างที่ดีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ ชื่อตราสินค้า เช่น Coca-Cola หรือโลโก้ เช่น Ralph Lauren พวกมันสามารถช่วยในการขายผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตัวของมันเองจากการที่ผู้คนจดจำแบรนด์เหล่านี้ได้
งบดุล 'งานระหว่างทำ'
บริษัทที่มีงบดุลที่แข็งแกร่งนั้นสมบูรณ์แบบสำหรับการลงทุน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทเหล่านี้เป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดที่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างที่บางบริษัทที่เป็นบริษัท "น้องใหม่" ต่างๆ แสดงให้เห็น ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำการสนับสนุนมันด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น นักลงทุนที่ฉลาดจึงมองหาบริษัทที่ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงสถานะทางการเงินของตน แล้วจะหาบริษัทแบบนั้นได้ยังไงล่ะ? ง่ายๆ! บริษัทเหล่านี้มีหนี้สินลดลงทุกปีและพอนานเข้าๆ ก็มีการสะสมเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาเรียกงบดุลนี้ว่างบดุล "งานระหว่างทำ"
สรุป
หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณก็สามารถอ่านงบดุลได้ง่ายๆ และทราบได้ว่าบริษัทมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปหรือไม่ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณสร้างพอร์ตการลงทุนที่ยอดเยี่ยมได้!