ตัวบ่งชี้ Fractal ของ Bill Williams
ข้อมูลทั่วไป
Bill Williams ได้พัฒนาตัวบ่งชี้ Fractals ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดของเรื่องเศษส่วนซึ่งเขาได้นำเข้าสู่ฐานความรู้ของ Forex วิธีการนำมาใช้งานก็มีหลากหลาย โดยทั่วไปจะใช้เพื่อระบุแนวโน้มที่มีความแข็งแกร่งในตลาดและบ่อยครั้งก็ใช้ในการระบุจุดกลับตัวของตลาด เช่นเดียวกับตัวบ่งชี้อื่นๆ มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งเราจะพูดถึงทั้งหมดข้างล่างนี้เพื่อให้คุณสามารถใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการซื้อขายประจำวันของคุณ
การค้นพบ
มีสองวิธีในการค้นหา fractals บนแผนภูมิ
วิธีแรก - คุณจะต้องอ่านข้อมูลต่อไปนี้และสามารถระบุ fractal ได้บนแผนภูมิตามชุดของแท่งเทียนที่ต้องการเพื่อสร้าง fractal
วิธีที่สอง - คลิกเพื่อแสดงตัวบ่งชี้เศษ fractals บนแผนภูมิ ส่วนวิธีทำจะแสดงในภาพถัดไป
ส่วนประกอบ
Facetal เป็นชุดของแท่งเทียน 5 แท่งที่ปิดแล้ว มันอาจเป็น bullish (ขาลง) หรือ bearish (ขาขึ้น)คุณอาจสับสนนิดหน่อยกับชื่อเมื่อทียบกับวิธีการทั่วไป: ปกติแล้วในตลาด Forex นั้น bulish จะหมายถึงขาขึ้น ส่วน bearish จะหมายถึงขาลง ขณะที่ตรงนี้คุณจะเห็นว่า bullish fractal คือ fractal ที่จิ้มลงด้านล่าง และ bearish fractal คือ fractal ที่จิ้มขึ้นด้านบน ไม่ต้องกังวลไป มันเข้าใจได้ไม่ยากเพราะเดี๋ยวคุณก็เห็น ไปดูกันเถอะ
เพื่อที่จะแยก fractal ออกจากชุดของแท่งเทียนบนแผนภูมิ เราจะต้องหาแท่งเทียน 5 แท่งที่เรียงตัวกันเป็นรูปแบบคล้ายๆลูกศร (แม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นรูปลูกศรที่ชัดเจนขนาดนั้นก็ตาม) เมื่อเราแยกแท่งเทียนทั้งห้าแท่งออกมา ให้ดูแท่งที่อยู่ตรงกลาง (แท่งที่สามที่อยู่ตรงกลาง) เช่นนั้นในตอนนี้เราจะมีแท่งเทียนตรงกลางที่มี 2 ปีกซ้าย และ 2 ปีกขวา ที่ปลายแท่งเทียนแท่งกลาง เราสามารถระบุ fractal ของเราได้เป็นชี้ขึ้น (bearish) หรือชี้ลง (bullish)ใน bearish fractal แท่งเทียนแท่งกลางจะมีจุดสูงสุดที่สูงที่สุดขณะที่จุดสูงสุดของแท่งเทียนซ้ายขวาจะต่ำกว่าของแท่งกลาง fractal ทั้งชุดจะชี้ขึ้นแต่มีทิศทางเคลื่อนที่เป็นขาลง ซึ่งเป็นเหตุผลที่มันถูกเรียกว่า bearish ดังภาพข้างล่างนี้
ใน bullish fractal แท่งเทียนแท่งกลางจะมีจุตต่ำสุดที่ต่ำที่สุดและแท่งเทียนทั้งซ้ายและขวาก็มีจุดต่ำสุดที่ยกตัวขึ้น ดังที่จะเห็นในภาพถัดไป ซึ่งมันมักจะปรากฏก่อนที่ตลาดจะมีการกลับตัวไปเป็นขาขึ้น ทำให้มันถูกเรียกว่า bullisj fractal
ทีนี้เราก็รู้วิธีการหา fractals บนแผนภูมิแล้ว เดี๋ยวเราไปลองใช้เครื่องมือตัวนี้กัน
วิธีการใช้งาน
- ใช้ fractal เป็น Stop lossอีกรูปแบบหนึ่งในการใช้งาน fractal คือใช้เพื่อจัดการความเสี่ยง ซึ่ง ณ ที่นี้มันคือการใช้ fractal เป็นระดับ stop loss ในตัวอย่างด้านล่างจะแสดงการวาง stop loss ของออเดอร์ sell ไว้ที่ fractal up ล่าสุด (ตรงกันข้ามหากเป็นออเดอร์ buy ก็จะวาง stop loss ไว้ที่ระดับของ fractal down ล่าสุด) หากคุณมองตามเส้นที่ขีดไปทางซ้ายมือ คุณจะเห็นว่ามันร่วงลงต่ำกว่าขอบเขตของแนวรับย่อย (ที่เป็นจุดสูงสุดของ fractal up ก่อนหน้า)
- ใช้ Fractal บอกจุดกลับตัวของตลาดการใช้ fractal เป็นสัญญาณการกลับตัวของตลาดนั้นเป็นวิธีการในการใช้ตัวบ่งชี้ตัวนี้ที่่เป็นที่นิยมมากที่สุด รูปภาพด้านล่างนี้แสดงราคาที่กำลังร่วงลงหลังเกิด bearish fractal สำหรับเทรดเดอร์แล้วมันเป็นจังหวะที่น่าเข้า sell และในทางตรงข้ามที่ตลาดวิ่งขึ้นหลังเกิด bullish fractal มันก็เป็นจังหวะที่ดีที่จะเปิด buy
วิธีการผสมผสานเพื่อใช้งาน
การใช้ตัวบ่งชี้สองสามตัวร่วมกันเพื่อยืนยันซึ่งกันและกันนั้นดีกว่าการใช้เพียงตัวเดียวเสมอ ตัวบ่งชี้ Fractals ก็เช่นกัน มันเชื่อถือได้บ้างไม่ได้บ้างพอๆกับเครื่องมือตัวอื่นๆ นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องมาดูว่าจะผสานมันเข้ากับวิธีการอื่นๆได้อย่างไร
- Fractals + การวิเคราะห์แนวโน้ม เนื่องจากการวิเคราะห์แนวโน้มเป็นวิธีการพื้นฐานในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาด และ fractal ก็รวมอยู่ในตรรกะนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น เราสังเกตว่าตลาดดูเหมือนจะพุ่งขึ้น แล้วเราพบ fractal ดังภาพด้านล่างซึ่งเป็น fractals ชี้ลง bullish fractal ตามมาด้วยคลื่นตลาดขาขึ้น - ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้สำหรับเราว่าตลาดกำลังจะดำเนินต่อไปในทิศทางที่เป็นขาขึ้น ดังนั้นเราจะเข้า buy หลัง fractal นี้เกิดขึ้น แล้วจับตาดูแนวโน้มที่คาดว่าจะพุ่งขึ้นต่อไปอีกตรรกะเดียวกันนี้จะใช้กับตลาดขาลง: เมื่อเราเห็นแนวโน้มขาลงและ fractal ชี้ขึ้นอย่างชัดเจนแล้วเราจะเข้า sell ตามความคาดหวังว่าตลาดจะเคลื่อนตัวลงต่อหมายเหตุ: ณ จุดนี้เราใช้ fractals เพื่อยืนยันเพิ่มเติมว่าเราเข้าใจความตั้งใจของตลาดอย่างถูกต้องแทนที่จะใช้แนวโน้มของตลาดเพื่อยืนยันการตีความ fractal
- Fractals + Alligator Bill Williams นั้นมีชื่อเสียงที่โด่งดังจากชุดตัวบ่งชี้ที่เขาได้พัฒนาขึ้น เช่น Alligator, Accelerator Oscillator และ Awesome Oscillator มันสมเหตุสมผลที่จะรวม fractals เข้ากับหนึ่งหรือหลายตัวบ่างชี้ดังกล่าวเนื่องจากพวกมันมีตรรกะภายในที่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามเราต้องจำไว้ว่าการสังเกตแนวโน้มยังคงเป็นเสาหลักของการคาดการณ์ตลาดของเรา ด้วยเหตุผลนี้ขั้นตอนแรกของตรงนี่จึงไม่ต่างจากตัวอย่างก่อนหน้านี้: เราสังเกตเห็นคลื่นขาขึ้นในตลาด จากนั้นเราคลิกเพื่อเพิ่มตัวบ่งชี้ fractals และ Alligator ในภาพเราจะเห็นว่าราคาที่อยู่ตรง fractal ที่เลือกนั้นอยู่สูงกว่า fractal up ก่อนหน้าและเส้นสีแดงของ Alligator ในเวลาเดียวกัน - นั่นจะเป็นสัญญาณให้เข้า buy ในทางกลับกันถ้าราคาอยู่ต่ำกว่า fractal down และเส้นสีแดงของ Alligator เราจะเข้า sellดังนั้นวิธีการตรงนี้คือการเปรียบเทียบระดับของราคากับ fractal up หรือ down ก่อนหน้านี้กับเส้นสีแดงของ Alligator
- Fractals + Alligator (+ Awesome Oscillator and Accelerator Oscillator)ในตัวอย่างนี้ก็คล้ายๆกับตัวอย่างที่แล้วเพียงแต่เพิ่มการยืนยันด้วย Awesome Oscillator และ Accelerator Oscillator ให้เราดูที่ fractal เดิม และตรวจสอบว่ามันสอดคล้องกับ Awesome Oscillator และ Accelerator Oscillator หรือไม่ ราคาในตัวอย่างนี้อยู่เหนือเส้นแดงและพุ่งทะลุไปเหนือ fractal up ล่าสุด อีกทั้ง 2 คอลัมน์ล่าสุดของ Awesome Oscillator และ 3 คอลัมน์ล่าสุดของ Accelerator Oscillator เป็นสีเขียว ทั้งหมดนี้จะยืนยันได้ว่าตลาดตั้งใจจะพุ่งขึ้น เช่นนั้นเราจะเข้า buy
โปรดระวัง
หากเทรดเดอร์จะนำ fractal มาใช้จะต้องมีการปรับอะไรนิดๆหน่อยๆ
อันดับแรก ตัวบ่งชี้ Fractal มันเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความล่าช้า กว่าที่ fractal จะก่อตัวเสร็จตลาดก็วิ่งไปไกลแล้ว ฉะนั้นจึงควรใช้ตัวบ่งชี้อื่นเข้ามาร่วมยืนยันเพิ่มเติม
อันดับสอง จะมี fractal ปรากฏเยอะมากบนแผนภูมิ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสน นั่นเป็นเหตุผลที่คุณควรเลือกกลยุทธ์ในการซื้อขายก่อนหรือตัดสินใจว่าจะทำการซายตาม fractal ไหน มิฉะนั้นการทำการซื้อขายตาม fractal ทุกตัวอาจนำไปสู่การสูญเสียและสุดท้าย fractals นั้นจะมีความน่าเชื่อถือเมื่อใช้มันในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าแต่จำนวนของ fractal ก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน ตรงกันข้ามในกรอบเวลาที่เล็กลงจะมี fractal เยอะมากซึ่งมีความน่าเชื่อถือต่ำ
สรุป
Fractals ของ Bill Williams เป็นตัวบ่งชี้ที่มีความน่าสนใจที่มีเหตุผลบางประการที่อยู่เบื้องหลังและเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานที่เทรดเดอร์จำนวนมากใช้ในการซื้อขาย มันอาจเป็นส่วนประกอบที่ดีในระบบเครื่องมือการซื้อขายที่ใช้ระบุการเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้ของตลาดและทำการตัดสินใจทางเข้าซื้อขายอย่างมีข้อมูล ใช้อย่างระมัดระวัง, ซื้อขายตามแนวโน้ม แล้วคุณจะอยู่ในด้านที่ปลอดภัยของตลาด