-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
Value at risk
Value at risk (VaR)
Value at Risk (VaR) คืออะไร?
Value at risk (VaR) หรือมูลค่าความเสี่ยง คือสถิติที่แสดงถึงความสูญเสียทางการเงินที่เป็นไปได้ภายในบริษัท พอร์ตการลงทุน หรือตำแหน่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ ระบบเมตริกนี้มักถูกการลงทุนและธนาคารพาณิชย์นำมาใช้การประเมิน ความเสี่ยงทางการเงิน
ทำความเข้าใจเรื่อง Value at Risk (VaR)
การสร้างแบบจำลอง VaR จะช่วยวัดปริมาณของการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ความน่าจะเป็นที่มันจะเกิดขึ้น และกรอบเวลา
การใช้การประเมิน VaR จะช่วยในการระบุความเสี่ยงสะสมจากตำแหน่งที่องค์กรอยู่ การใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการสร้างแบบจำลอง VaR ทำให้สถาบันการเงินสามารถตัดสินใจได้ว่ามีเงินทุนสำรองเพียงพอที่จะรองรับการขาดทุนหรือไม่ หรือจำเป็นต้องมีการปรับพอร์ตการลงทุนของตนเพื่อรับมือความเสี่ยงที่สูงกว่าที่ยอมรับได้นั้นหรือไม่ และเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า
Marginal Value at Risk (MVaR)
Marginal value at risk (MVaR) หรือมูลค่าความเสี่ยงส่วนเพิ่มเติม คือจำนวนความเสี่ยงเพิ่มเติมที่เกิดจากการลงทุนในพอร์ตใหม่ MVAR จะช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนเนื่องจากการลบหรือเพิ่มของการลงทุนใดการลงทุนหนึ่ง
การลงทุนหนึ่งอาจมีมูลค่าความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม หากมันมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับพอร์ตการลงทุน มันก็ยังให้ความเสี่ยงแก่พอร์ตการลงทุนในจำนวนที่ค่อนข้างน้อยกว่ามากๆเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงของตัวมันเองเพียงอย่างเดียว
วิธีการคำนวณมูลค่าความเสี่ยง
มีสามวิธีหลักในการคำนวณ VaR: วิธีการจําลองโดยใช้ข้อมูลในอดีต (Historical Method), วิธีการทางสถิติพาราเมตริก (Parametric Method), และวิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โล (Monte Carlo Simulation) การคำนวณแต่ละแบบต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับความซับซ้อน, ความเร็วในการคำนวณ, การนำไปใช้กับแต่ละตราสาร, และปัจจัยอื่นๆ
1. วิธีการจําลองโดยใช้ข้อมูลในอดีต (Historical Method)
วิธีการจําลองโดยใช้ข้อมูลในอดีตนั้นเป็นวิธีที่เรียบง่ายสำหรับการคำนวณมูลค่าความเสี่ยง ข้อมูลตลาดในช่วง 100 วันที่ผ่านมาจะถูกนำมาคำนวณเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงสำหรับแต่ละปัจจัยเสี่ยงในแต่ละวัน การเปลี่ยนแปลงแต่ละเปอร์เซ็นต์จะถูกคำนวณด้วยมูลค่าตลาดปัจจุบันเพื่อนำเสนอ 100 สถานการณ์สำหรับมูลค่าในอนาคต
สำหรับแต่ละสถานการณ์ พอร์ตการลงทุนจะได้รับการประเมินมูลค่าโดยใช้แบบจำลองการกำหนดราคาแบบเต็มรูปแบบและแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้น วันที่แย่ที่สุดอันดับที่ห้าที่เลือกมาจะถือว่าเป็น 95% VaR
โดยที่:
- vi คือจำนวนตัวแปรในวันที่ i
- m คือจำนวนวันที่นำข้อมูลในอดีตมาใช้
2. วิธีการทางสถิติพาราเมตริก (Parametric Method)
วิธีการทางสถิติพาราเมตริกหรือเรียกอีกอย่างว่าวิธีความแปรปรวนร่วม มันมีสันนิษฐานว่าจะมีการแจกแจงแบบปกติในผลตอบแทน สองปัจจัยที่จะถูกประเมิณ: ผลตอบแทนที่คาดหวังและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีการทางสถิติพาราเมตริกเหมาะสมที่สุดกับปัญหาการวัดความเสี่ยงที่ทราบและประมาณค่าการแจกแจงได้อย่างน่าเชื่อถือ วิธีการนี้จะไม่มีความน่าเชื่อถือเมื่อขนาดของตัวอย่างนั้นเล็กมากๆ
"l" คือความสูญเสีย, "p" คือพอร์ตการลงทุน, และ "n" คือจำนวนของตราสาร
3. วิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โล (Monte Carlo Method)
ภายใต้วิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โล มูลค่าความเสี่ยงจะถูกคำนวณโดยการสร้างสถานการณ์จำลองสำหรับอัตราในอนาคตแบบสุ่มโดยใช้แบบจำลองการกำหนดราคาในแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสำหรับแต่ละสถานการณ์ จากนั้นค่อยคำนวณ VaR ตามการสูญเสียที่เลวร้ายที่สุด
วิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โลนั้นเหมาะกับหลายปัญหาการวัดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับปัจจัยที่ซับซ้อน มันมีสมมติฐานว่าจะมีการจัดสรรความน่าจะเป็นสำหรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ตัวอย่าง VaR
สมมติว่าผู้จัดการความเสี่ยงต้องการคำนวณ VaR 95% ใน 1 วันสำหรับหุ้น XYZ โดยใช้ข้อมูล 100 วัน ด้วยการใช้วิธีการจำลองโดยใช้ข้อมูลในอดีต ผู้จัดการความเสี่ยงจะดูที่ผลตอบแทนในช่วง 100 วันที่ผ่านมาของหุ้น XYZ ตามลำดับจากแย่ที่สุดไปดีที่สุด หากเรามีผลตอบแทน 100 รายการดังในตัวอย่าง ให้เรียงลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุด:
VaR เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 ในกรณีนี้จะสอดคล้องกับ -3.64% หรือผู้จัดการความเสี่ยงอาจกล่าวได้ว่า VaR 95% ในหนึ่งวันจะขาดทุนที่ 3.64% หากความเสี่ยงนี้อยู่ในขอบเขตที่ผู้จัดการความเสี่ยงยอมรับได้ ก็อาจพิจารณาได้ว่าหุ้น XYZ นั้นเป็นการลงทุนที่ดี
ข้อดีของมูลค่าความเสี่ยง (VaR)
1. เข้าใจง่าย
มูลค่าความเสี่ยงนั้นเป็นตัวเลขเดียวที่ระบุระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน มูลค่าความเสี่ยงจะวัดออกมาได้ทั้งในรูปแบบหน่วยราคาหรือเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันทำให้การตีความและทำความเข้าใจ VaR นั้นค่อนข้างง่าย
2. การนำไปใช้
มูลค่าความเสี่ยงใช้ได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท: พันธบัตร หุ้น ตราสารอนุพันธ์ สกุลเงิน ฯลฯ ดังนั้น สถาบันการเงินต่างๆสามารถใช้ VaR เพื่อประเมินความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยงของการลงทุนที่แตกต่างกันได้
3. ความเป็นสากล
มีการใช้ตัวเลขมูลค่าคามเสี่ยงกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มันกลายเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในการซื้อ, ขาย, หรือแนะนำสินทรัพย์
ข้อจำกัดของมูลค่าความเสี่ยง
1. พอร์ตการลงทุนขนาดใหญ่
การคำนวณมูลค่าความเสี่ยงสำหรับพอร์ตการลงทุนจำเป็นต้องคำนวณความเสี่ยงและผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละรายการและความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ดังกล่าว ดังนั้น ยิ่งจำนวนหรือความหลากหลายของสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนมีมีมากเท่าไหร่ การคำนวณ VaR ก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น
2. ความแตกต่างในวิธีการ
วิธีการคำนวณ VaR ที่แตกต่างกันอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับพอร์ตการลงทุนเดียวกัน
3. สมมติฐาน
ในการคำนวณ VaR นั้นจำเป็นต้องตั้งสมมติฐานและใช้มันเป็นอินพุต หากสมมติฐานไม่ถูกต้อง เช่นนั้น VaR ก็จะไม่ถูกต้อง
สรุป
การจัดการพอร์ตการลงทุนของบริษัทเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งต้องการการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อความสำเร็จในการซื้อขายในตลาด Forex เทรดเดอร์ควรปฏิบัติตามกฎการจัดการความเสี่ยง เช่น ขนาดตำแหน่ง, การกระจายความเสี่ยง, และการจำกัดการขาดทุนโดยการวางคำสั่ง Stop Loss, การเทรดด้วยเลเวอเรจ เป็นต้น โชคดีที่ FBS มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่อาจช่วยเทรดเดอร์ทุกระดับ ตั้งแต่มือใหม่ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ให้สามารถปรับปรุงผลการซื้อขายของพวกเขาได้
อัปเดทแล้ว • 2023-05-08