-
ตัวบ่งชี้ใดที่ดีที่สุดสำหรับแนวรับและแนวต้าน?
ตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดสำหรับการระบุแนวรับและแนวต้านมีดังนี้
- ตัวบ่งชี้ Fibonacci
- ตัวบ่งชี้ Wolfe waves
- ตัวบ่งชี้ Pivot point
- ตัวบ่งชี้ Camarilla pivot point
- ตัวบ่งชี้ Murrey Math Lines
-
คุณระบุแนวรับและแนวต้านด้วยวิธีใด?
ในการระบุแนวรับและแนวต้าน คุณควรใช้ตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน เช่น ตัวบ่งชี้ Fibonacci ตัวบ่งชี้ Pivot point และ Murrey Math Lines เป็นต้น พวกมันจะลากเส้นระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นไปได้บนกราฟราคาของคุณ
-
กรอบเวลาใดดีที่สุดสำหรับระดับแนวรับและแนวต้าน?
คุณสามารถค้นหาแนวรับและแนวต้านในกรอบเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกราฟรายนาทีหรือรายเดือน อย่างไรก็ตาม ยิ่งกรอบเวลานานเท่าใด แนวรับและแนวต้านก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
Support and Resistance Indicators
ตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน
แนวรับและแนวต้านคืออะไร?
แนวรับและแนวต้านคือระดับราคาที่ราคาแตะและเด้งกลับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ระดับแนวรับจะเกิดขึ้นเมื่อราคาหยุดร่วงหลังจากที่ร่วงลงมาอย่างยาวนานแล้วเริ่มขยับขึ้นอีกครั้ง นี่เป็นเพราะราคาที่ต่ำกว่าจะดึงดูดผู้ซื้อให้กลับมามีส่วนร่วมในตลาดอีกครั้งและผลักดันราคาให้สูงขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ระดับแนวต้านจะเกิดขึ้นเมื่อราคาเริ่มลดลงหลังจากที่เคลื่อนไหวขึ้นมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ก่อนหน้านี้เริ่มขายโดยหวังว่าจะทำกำไรได้ สิ่งนี้จะสร้างแนวต้านและไม่อนุญาตให้ราคาไต่สูงขึ้นไปกว่านี้
โปรดทราบว่าสำหรับระดับราคาที่จะพิจารณาแนวรับและแนวต้าน เทรดเดอร์ควรทำการทดสอบระดับดังกล่าวหลาย ๆ ครั้งภายในระยะเวลาหนึ่ง
ประเภทของแนวรับและแนวต้าน
ในขณะที่ราคาเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ แนวรับและแนวต้านจะอยู่ที่เดิมหรือจะเปลี่ยนที่ก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีระดับแนวรับและแนวต้านสามประเภทหลัก ๆ
ระดับแนวรับและแนวต้านแบบคงที่
โซนแนวรับและแนวต้านบางส่วนนั้นจะคงที่ ซึ่งหมายความว่าราคาจะเคลื่อนที่มานานแค่ไหนแล้วก็ไม่สำคัญ เพราะมันจะเด้งออกจากระดับเหล่านี้ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง (แต่มันสามารถทะลุระดับเหล่านี้ได้) แนวรับและแนวต้านแบบคงที่มักเป็นผลพวงที่เกิดจากจิตวิทยาของเทรดเดอร์
เทรดเดอร์มักจะอาศัยข้อมูลในอดีตเพื่อแสดงให้เห็นว่าตลาดมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ซึ่งเป็นสาเหตุที่เทรดเดอร์จำนวนมากคาดหวังว่าแนวรับและแนวต้านในอดีตจะใช้ได้แม้กับสถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน ไม่ว่าระดับเหล่านี้จะคงอยู่ตลอดหลายทศวรรษหรือไม่ก็ตาม เทรดเดอร์ก็ยังคงใช้มัน ซึ่งทำให้แนวรับและแนวต้านนั้นอยู่แบบคงที่
แนวรับและแนวต้านแบบคงที่ทั่วไปอื่น ๆ สามารถพบได้ที่ระดับตัวเลขกลม ๆ เช่น 10.30 หรือ 4.00 เนื่องจากในทางจิตวิทยาแล้วมันดูสมเหตุสมผลมากกว่าสำหรับเทรดเดอร์ที่จะส่งคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาที่เป็นตัวเลขกลม ๆ
แนวรับและแนวต้านแบบไดนามิก
ระดับแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกจะเปลี่ยนแปลงตามเวลาและมักจะปรับตามการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุด ระดับเหล่านี้ก่อตัวขึ้นเมื่อเทรดเดอร์วางวิจารณญาณของตนไว้บนการเคลื่อนไหว ณ ปัจจุบันของตลาดเท่านั้น พวกเขาจะวิเคราะห์กราฟราคาเพื่อระบุการพัฒนาใหม่ ๆ ในอุปสงค์และอุปทาน หากพวกเขาเห็นว่าการเคลื่อนไหวล่าสุดของราคามีผลกระทบ พวกเขาจะเปลี่ยนแผนและตัดสินใจเรื่องระดับแนวรับและแนวต้านใหม่
ระดับแนวรับและแนวต้านแบบกึ่งไดนามิก
ระดับแนวรับและแนวต้านแบบกึ่งไดนามิกเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างระดับไดนามิกและระดับคงที่ เช่นเดียวกับระดับไดนามิก แนวรับและแนวต้านกึ่งไดนามิกจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคา อย่างไรก็ตาม พวกมันจะเปลี่ยนแปลงในอัตราคงที่แทนที่จะขยับไปมาเพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ของตลาด นี่หมายความว่าเส้นที่ลากผ่านแนวรับหรือแนวต้านจะเป็นเส้นตรงแต่ชี้ขึ้นหรือลง
5 ตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้านที่ดีที่สุด
ตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้านสามารถช่วยให้เทรดเดอร์ระบุระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นไปได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้เพื่อวางแผนการเทรดครั้งต่อไปให้ประสบความสำเร็จ นี่คือตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้านที่ดีที่สุด
ตัวบ่งชี้ Fibonacci
ตัวบ่งชี้ Fibonacci ถูกนำมาใช้เพื่อระบุแนวรับและแนวต้านกึ่งไดนามิก เครื่องมือนี้จะอ้างอิงจากอัตราส่วน Fibonacci ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถช่วยเทรดเดอร์ในการระบุระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นไปได้ อัตราส่วนเหล่านี้มาจากตัวเลข Fibonacci ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของลำดับตัวเลข โดยตัวเลขถัดไปแต่ละตัวจะเป็นผลรวมของตัวเลขสองตัวก่อนหน้า การหารตัวเลขในลำดับเฉพาะจะให้เปอร์เซ็นต์ที่เป็นไปได้สำหรับแนวรับและแนวต้าน: 61.8%, 38.2%, 23.6% และ 50%
ตัวบ่งชี้นี้ส่วนใหญ่จะมองหาการปรับฐานที่อาจเกิดขึ้นสวนกับแนวโน้มหลัก การใช้อัตราส่วน Fibonacci ในช่วงราคาหนึ่ง ๆ สามารถแสดงระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นไปได้ ซึ่งราคามีแนวโน้มที่จะย้อนกลับทางเดิมที่มันเคยมา สิ่งนี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์ตรวจพบจุดเข้าและจุดออกที่เป็นไปได้และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการหากจำเป็น
ตัวบ่งชี้ Wolfe waves
แม้จะไม่ใช่ตัวบ่งชี้แบบดั้งเดิม Wolfe waves ก็ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เทรดเดอร์เกี่ยวกับแนวรับและแนวต้านได้
Wolfe wave เป็นรูปแบบที่จะก่อตัวขึ้นเมื่อราคาซื้อขายภายในช่วง จุดสูงสุดที่สูงขึ้นและจุดต่ำสุดที่ต่ำลงของช่วงจะเลื่อนขึ้นหรือลงไปพร้อม ๆ กับราคา ทำให้เกิดเส้นตรงที่ขนานกัน ซึ่งเส้นเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นระดับแนวรับและแนวต้าน
เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้ว Wolfe wave เป็นรูปแบบหนึ่ง มันจึงมักจะเกิดขึ้นก่อนการกลับตัวของแนวโน้ม ตามกฎแล้ว ในการแกว่งตัวครั้งที่ 5 ของรูปแบบ ราคาจะทะลุแนวรับหรือแนวต้าน จากนั้นจึงกลับตัวแล้วเคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางนี้ การระบุรูปแบบนี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์ค้นหาจุดเข้าหรือจุดออกที่เป็นไปได้
ตัวบ่งชี้ Pivot point
ตัวบ่งชี้ Pivot point จะช่วยเทรดเดอร์ในการระบุจุดเข้าและจุดออกที่เป็นไปได้โดยการวาดเส้นผ่านจุดหมุน (pivot point) ที่ตลาดมักจะเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ ในการคำนวณ Pivot point ตัวบ่งชี้จะใช้ค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดรวมถึงราคาปิดของวันก่อนหน้า
เส้นที่ถูกวาดอยู่บนกราฟจะแสดงให้เห็นระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นไปได้ สิ่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเตรียมปิดหรือเปิดคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม หากราคาไม่เด้งออกจากระดับใดระดับหนึ่ง นั่นแสดงว่าขณะนี้แนวโน้มกำลังแข็งแกร่ง ดังนั้นเทรดเดอร์จึงต้องเรียนรู้ทิศทางของแนวโน้มด้วย
ตัวบ่งชี้ Camarilla pivot point
ตัวบ่งชี้ Camarilla pivot point ตั้งอยู่บนทฤษฎีที่ว่าราคามีแนวโน้มที่จะกลับไปหาค่าเฉลี่ยของมันในช่วงเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่ง ตัวบ่งชี้ Camarilla pivot point สามารถระบุระดับแนวรับและแนวต้านระหว่างวันที่อาจเกิดขึ้นได้โดยใช้ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิดเฉลี่ยของวันซื้อขายก่อนหน้าและตัวเลข Fibonacci ซึ่งเป็นผลให้ตัวบ่งชี้ทำเครื่องหมายแปดระดับที่อาจทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านของแนวโน้มปัจจุบัน
เทรดเดอร์สามารถวางแผนการเทรดรอบ ๆ ระดับทั้งแปดนี้ได้ กระทิงอาจวางคำสั่งซื้อบริเวณแนวรับ ในขณะที่หมีจะเน้นซื้อขายบริเวณแนวต้าน
ตัวบ่งชี้ Murrey Math Lines (MML)
ตัวบ่งชี้ Murrey Math Lines (MML) จะประกอบด้วยเส้นเก้าเส้น (รวมถึงระดับศูนย์) ที่ถูกวาดลงบนกราฟซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้าน เส้นเหล่านี้ถูกคำนวณโดยใช้สูตรที่แนะนำโดย T. Henning Murrey ซึ่งอ้างอิงจากทฤษฎีของ W. D. Gann ที่ว่าราคามีแนวโน้มที่จะย้อนกลับที่ช่วง 1/8 นั่นเป็นเหตุผลที่ตัวบ่งชี้ MML ประกอบด้วยแปดระดับราคา
นอกจาก MML จะสามารถเปิดเผยแนวรับและระดับการกลับตัวที่เป็นไปได้แล้ว พวกมันก็ยังสามารถบอกเทรดเดอร์ได้มากขึ้นเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการเคลื่อนที่ของราคาได้ด้วย แนวรับและแนวต้าน MML ที่แข็งแกร่งที่สุดคือเส้นล่าง กลาง และบน (0/8, 4/8 และ 8/8 ตามลำดับ) ซึ่งราคามักจะเด้งออกและย้อนกลับ ช่วงระหว่างเส้น 3/8 ถึง 5/8 ถือเป็นช่วงการซื้อขายมาตรฐาน ในขณะที่ 2/8 และ 6/8 จะทำหน้าที่เป็นจุดกลับตัวที่แข็งแกร่ง และโดยทั่วไปจะบ่งชี้ว่าสินทรัพย์มีการขายมากเกินไปหรือซื้อมากเกินไป
ตัวอย่างแนวรับและแนวต้านในการเทรด
ราคาแทบจะไม่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเลย มันจะพุ่งขึ้นเมื่อชนแนวรับจากผู้ซื้อ และร่วงลงเมื่อชนแนวต้านจากผู้ขาย ดังที่คุณเห็นในกราฟ การกลับไปกลับมานี้สามารถดำเนินต่อไปได้อีกระยะหนึ่งเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ของตลาด
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะหมดความสนใจใน "การต่อสู้" แล้วปล่อยให้อีกฝ่ายชนะไป เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ราคาจะทะลุแนวรับหรือแนวต้านแล้วเคลื่อนที่ต่อไปเกินช่วงที่แข็งแกร่งก่อนหน้านี้ ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากกราฟด้านบน
โปรดทราบว่าเมื่อระดับแนวต้านถูกทำลาย มันก็จะไม่ทำหน้าที่ของมันอีกต่อไปเนื่องจากราคาได้ไปอยู่เหนือระดับนั้นแล้ว แต่มันจะเปลี่ยนเป็นระดับแนวรับใหม่แทน ซึ่งราคาจะดีดกลับเมื่อแนวโน้มเคลื่อนไปข้างหน้า
อัปเดทแล้ว • 2023-05-30