Leverage

Leverage

เลเวอเรจทางการเงินคืออะไร?

เลเวอเรจทางการเงินคือการใช้เงินทุนที่ยืมมาเพื่อทำการลงทุน ส่งผลให้เลเวอเรจทางการเงินมีศักยภาพในการเพิ่มผลตอบแทนหรือผลกำไรจากโครงการ ในขณะเดียวกัน การใช้เลเวอเรจทางการเงินยังเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ใช้ต้องแบกรับไว้ หากการลงทุนไม่ประสบความสำเร็จด้วย

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่าการเทรดด้วยเลเวอเรจคืออะไร มันทำงานอย่างไร มีการเทรดด้วยเลเวอเรจประเภทใดบ้าง วิธีการใช้เลเวอเรจในการเทรด ข้อดีและข้อเสียของเลเวอเรจมีอะไรบ้าง และวิธีลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

การเทรดด้วยเลเวอเรจคืออะไร?

เลเวอเรจเป็นกลยุทธ์การซื้อขายที่เป็นที่แพร่หลายมากซึ่งเกี่ยวข้องกับเทรดเดอร์ที่ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อเปิดตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่พวกเขาสามารถจ่ายได้ด้วยเงินของตัวเอง การซื้อขายโดยใช้เลเวอเรจเป็นที่นิยมโดยเฉพาะใน Forex เนื่องจากคุณสามารถรับเลเวอเรจสำหรับการซื้อขาย Forex ได้สูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ มาก

การเทรดด้วยเลเวอเรจทำงานอย่างไร?

ในการที่จะเข้าใจว่าการเทรดด้วยเลเวอเรจทำงานอย่างไร คุณต้องเข้าใจก่อนว่าเลเวอเรจคืออะไร เลเวอเรจคืออัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินที่คุณฝากเข้าบัญชีซื้อขายของคุณกับจำนวนเงินที่คุณสามารถซื้อขายได้ จำนวนเงินที่คุณฝากเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของเงินทุนที่คุณสามารถใช้ในการซื้อขายได้ ส่วนที่เหลือโบรกเกอร์ของคุณจะจัดหาให้ อัตราส่วนนี้มักจะแสดงเป็น X:1 โดยที่ X คือจำนวนเงินที่คุณสามารถเข้าถึงได้หลังจากฝากเงินส่วนตัวของคุณแล้ว ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณใช้เลเวอเรจ 100:1 และฝากเงิน $100 คุณสามารถซื้อขายสินทรัพย์มูลค่า $10,000 ได้

การเทรดด้วยมาร์จิ้น

การเทรดด้วยมาร์จิ้นเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดของการเทรดด้วยเลเวอเรจ มาร์จิ้นคือจำนวนเงินที่คุณต้องใช้ในการเปิดการซื้อขาย การเทรดด้วยมาร์จิ้นทำให้คุณสามารถซื้อขายสินทรัพย์ได้มากกว่าที่คุณสามารถจ่ายได้ด้วยเงินสดเพียงอย่างเดียว

โปรดทราบว่าเมื่อพูดถึง Forex การเทรดด้วยมาร์จิ้นนั้นกำหนดให้คุณต้องชำระเงินเบื้องต้นให้กับโบรกเกอร์เพื่อรับเลเวอเรจในการซื้อสินทรัพย์ ในการเทรดด้วยมาร์จิ้น คุณต้องเปิดบัญชีมาร์จิ้นที่คุณฝากเงินไว้ และเงินจำนวนนี้ถูกใช้เป็นหลักประกัน การเทรดด้วยมาร์จิ้นจะเพิ่มทั้งกำไรที่อาจเกิดขึ้นและการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น และยังให้สิทธิ์โบรกเกอร์ของคุณในการปิดตำแหน่งของคุณโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคุณ หากคุณมีเงินไม่เพียงพอในบัญชีมาร์จิ้นของคุณ

การเทรดอนุพันธ์

เลเวอเรจยังสามารถนำไปใช้กับการเทรดอนุพันธ์ได้ด้วย อนุพันธ์เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีมูลค่ามาจากสินทรัพย์อ้างอิง อนุพันธ์ช่วยให้เทรดเดอร์ได้รับสิทธิ์ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาเฉพาะ และทำให้การซื้อขายมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

ETFs ที่มีเลเวอเรจ

กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนที่มีเลเวอเรจหรือ ETF เป็นเครื่องมือการซื้อขายที่ช่วยเพิ่มผลกำไรจากการลงทุนได้อย่างมากผ่านการใช้อนุพันธ์และตราสารหนี้ร่วมกัน แต่เทรดเดอร์ควรระมัดระวังในขณะที่ซื้อขาย EFTs เนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ETFs ติดตามตะกร้าหุ้นในภาคส่วนหนึ่งและช่วยกระจายพอร์ตของผู้ถือหุ้น ราคาของ ETF แบบดั้งเดิมจะเคลื่อนไหวไปพร้อมกับราคาหุ้นที่ติดตามแบบตัวต่อตัว อย่างไรก็ตาม ETF ที่มีเลเวอเรจมุ่งเป้าไปที่อัตราส่วน 2:1 หรือ 3:1 และอาจนำมาซึ่งผลกำไรที่มากขึ้น

อัตราส่วนเลเวอเรจในตลาดการเงิน

คุณสามารถใช้เลเวอเรจเพื่อเทรดในตลาดต่างๆ ได้ แต่จำนวนเลเวอเรจที่คุณสามารถใช้นั้นแตกต่างกันอย่างมาก และขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่คุณวางแผนจะเทรด

การเทรดสกุลเงินด้วยเลเวอเรจ

ตลาด Forex เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เทรดเดอร์ Forex สามารถใช้เลเวอเรจที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสูงถึง 1000:1 สำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพ สิ่งนี้ทำให้การเทรด Forex ทำกำไรได้มากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

เลเวอเรจสำหรับดัชนี

ดัชนีสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพโดยรวมของกลุ่มสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือภาคส่วนใดๆ โดยเฉพาะ เลเวอเรจสำหรับตลาดนี้ค่อนข้างต่ำ อัตราส่วนสูงสุดที่เป็นไปได้คือ 200:1

การเทรดหุ้นด้วยเลเวอเรจ

การเทรดหุ้นเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เทรดเดอร์สามารถใช้เลเวอเรจได้ เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ แล้ว ตลาดหุ้นมีอัตราส่วนเลเวอเรจค่อนข้างต่ำ ที่ FBS อัตราส่วนเลเวอเรจสูงสุดที่คุณจะได้รับเพื่อเทรดหุ้นคือ 100:1

การเทรดสกุลเงินดิจิทัลด้วยเลเวอเรจ

สกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ที่ผันผวนมาก ดังนั้นอัตราส่วนเลเวอเรจจึงต่ำมาก เริ่มตั้งแต่ 5:1 นี่เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะการใช้เลเวอเรจที่สูงสำหรับการเทรดคริปโตอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียอย่างมากได้

ความเสี่ยงของเลเวอเรจจริงที่มากเกินไปในการเทรด Forex

การใช้เลเวอเรจมากเกินไปในการเทรด Forec อาจสร้างกำไรได้มหาศาล แต่ก็อาจขาดทุนมหาศาลได้เช่นกัน ยิ่งคุณใช้เลเวอเรจสูงมากเท่าไร คุณก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

ความเสี่ยงของมาร์จิ้นและมาร์จิ้นคอล

หากระดับมาร์จิ้นของคุณลดลงและต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โบรกเกอร์ของคุณอาจเริ่มต้นทำการเรียกหลักประกันหรือที่รู้จักกันว่ามาร์จิ้นคอล ซึ่งหมายความว่าคุณต้องฝากเงินเข้าบัญชีมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้โบรกเกอร์ปิดตำแหน่งเพื่อรับเงินของโบรกเกอร์คืน

โอกาสขาดทุนที่มีไม่จำกัดด้วยออปชัน

ออปชันต้องการให้ผู้ขายของพวกเขาซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่ระบุไว้ในออปชันเหล่านี้ ดังนั้นหากผู้ซื้อดำเนินการ ผู้ขายก็ได้ขาดทุนแล้ว ซึ่งขนาดจะขึ้นอยู่กับว่าราคาสินทรัพย์ขึ้นหรือลงมากเพียงใด โดยมันไม่มีการจำกัดราคาที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งหมายความว่าไม่มีการจำกัดผลกำไรที่คุณสามารถสูญเสียได้

ไม่เหมาะสำหรับการเทรดระยะยาว

โดยทั่วไปแล้ว ETFs ที่มีเลเวอเรจจะใช้สำหรับการเทรดระหว่างวัน เนื่องจากอาจมีช่องว่างเกิดขึ้นตอนที่ตลาดเปิดในวันถัดไป การใช้เลเวอเรจเพื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากการเทรดระยะสั้นนั้นหมายความว่ากำไรที่คุณได้รับอาจอยู่ไกลจากเป้าหมายของคุณมากๆ

คุณจะสามารถคำนวณอัตราส่วนเลเวอเรจได้อย่างไร?

ในการคำนวณอัตราส่วนเลเวอเรจ คุณต้องหารจำนวนสินทรัพย์ด้วยจำนวนมาร์จิ้น (เงินทุน) ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อ Forex มูลค่า $500 และคุณมี $100 ในบัญชีมาร์จิ้น คุณจะต้องใช้อัตราส่วนเลเวอเรจ 5:1

เมื่อเปรียบเทียบมาร์จิ้น Forex กับการเทรดหุ้นแล้วเป็นอย่างไร?

การเทรด Forex ช่วยให้คุณมีเลเวอเรจมากขึ้น (100:1 หรือมากกว่าสำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพ) แม้ว่าสิ่งนี้อาจดูมีความเสี่ยง แต่คู่ Forex ไม่ได้เปลี่ยนแปลงราคามากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในหนึ่งวัน ดังนั้นความเสี่ยงจึงน้อยกว่าที่จะเป็นในตลาดการซื้อขายอื่นๆ

ตลาด Forex มีความผันผวนไหม?

ตลาด Forex โดยทั่วไปถือว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่มีสภาพคล่องมากที่สุด ซึ่งหมายความว่าตลาดเหล่านี้มีความผันผวนน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม อัตราสกุลเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ, ภูมิศาสตร์การเมือง, การค้า ฯลฯ ดังนั้นเทรดเดอร์จึงต้องตระหนักว่าเหตุการณ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญในคู่สกุลเงิน

ฉันควรใช้เลเวอเรจเท่าไรดีล่ะ?

เลเวอเรจอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่ง่ายในการทำเงินจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เทรดเดอร์เสียเงินจำนวนมากเช่นกัน หากคุณตัดสินใจที่จะใช้เลเวอเรจ อย่าเริ่มต้นด้วยอัตรา 100:1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นมือใหม่และยังคงเรียนรู้เกี่ยวกับการเทรดอยู่ มันจะเป็นการดีกว่าในการที่จะใช้เลเวอเรจที่น้อยกว่า (10:1) และสร้างทุนของคุณอย่างต่อเนื่องและรับประสบการณ์มากกว่าเสียเงินทั้งหมดของคุณภายในหนึ่งวัน

การเทรดด้วยเลเวอเรจ: ข้อดีและข้อเสีย

มีข้อดีหลายประการในการเทรดโดยใช้เลเวอเรจที่น่าดึงดูดสำหรับเทรดเดอร์:

  • กำไรสูง – เลเวอเรจจะคูณจำนวนเงินที่คุณมี ทำให้ผลกำไรที่เป็นไปได้ของคุณสูงขึ้นมาก
  • เข้าถึงหุ้นที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ – ด้วยเลเวอเรจ คุณสามารถซื้อสินทรัพย์ที่คุณไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินของคุณเอง
  • ตำแหน่งที่ใหญ่มากขึ้น – เลเวอเรจช่วยให้คุณเข้าสู่การเทรดได้มากขึ้นในเวลาเดียวกันและซื้อสินทรัพย์ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดของคุณ

อย่างไรก็ตาม มีข้อเสียบางประการที่เทรดเดอร์ควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจใช้เลเวอเรจ:

  • สูญเสียความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ – หากการเทรดของคุณสูญเสีย โบรกเกอร์ของคุณสามารถปิดตำแหน่งของคุณโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคุณ และจากนั้นคุณก็จะไม่เหลือทั้งสินทรัพย์และเงินเลย
  • ความเสี่ยงที่มากขึ้น – เลเวอเรจช่วยเพิ่มผลกำไรของคุณ แต่ยังเพิ่มจำนวนการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นหากตลาดขยับสวนทางกับคุณต้องการ

ตัวอย่างเลเวอเรจในการเทรดหุ้น

สมมติว่าคุณตัดสินใจซื้อหุ้นมูลค่า $10,000 และใช้เงินของคุณเองทำสิ่งนี้ นี่คือเลเวอเรจ 1:1 (โดยพื้นฐานแล้วนี่คือตำแหน่งที่ไม่มีเลเวอเรจ) เนื่องจากคุณไม่ต้องยืมอะไรจากโบรกเกอร์ หากคุณได้กำไร $100 ผลตอบแทนของคุณจะเป็น 1% ($100/$10,000*100) ในเวลาเดียวกัน หากคุณสูญเสีย $100 การสูญเสียของคุณก็จะได้ผลตอบแทนเพียง -1% เช่นกัน

ลองนึกภาพว่า คุณไม่มีเงิน $10,000 แต่ต้องการเทรดด้วยยอดเงินจำนวนนี้ นี่คือตอนที่เลเวอเรจจะเข้ามามีบทบาท ในกรณีนี้ โบรกเกอร์ของคุณจะต้องใช้มาร์จิ้น 1% เท่ากับ $100 ในบัญชีของคุณ นี่คือมาร์จิ้นที่คุณใช้ไปแล้ว เลเวอเรจคือ 100:1 เนื่องจากคุณควบคุม $10,000 ด้วยเงินเพียง $100 99% ที่เหลือนั้น ถูกจัดหาให้โดยโบรกเกอร์ มาร์จิ้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการรักษาความปลอดภัยของโบรกเกอร์ในกรณีที่ตลาดขยับสวนทางกับตำแหน่งของคุณ ในกรณีที่ได้กำไร $100 ผลตอบแทนของคุณจะเท่ากับ 100% ($100/$100*100) อย่างไรก็ตาม หากคุณสูญเสีย $100 ผลตอบแทนจะเป็น -100% อย่างที่คุณเห็น โดยการเทรดหุ้นด้วยเลเวอเรจอาจส่งผลให้มีกำไรมากขึ้นหรือขาดทุนมากขึ้นเมื่อเทียบกับตำแหน่งที่ไม่มีเลเวอเรจ

เลเวอเรจของรายย่อยเทียบกับเลเวอเรจของมืออาชีพ

อัตราเลเวอเรจไม่เพียงขึ้นอยู่กับตลาดที่คุณเทรดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นเทรดเดอร์ประเภทใดด้วย โดยทั่วไป อัตราเลเวอเรจสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยจะต่ำกว่าเทรดเดอร์มืออาชีพ และยังจำกัดจำนวนการสูญเสียที่พวกเขาเสี่ยงที่จะแบกรับด้วย นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์อื่นๆ ที่เทรดเดอร์มืออาชีพต้องปฏิบัติตามเพื่อให้มีสิทธิ์ได้รับเลเวอเรจ

การบริหารความเสี่ยงเลเวอเรจ

เนื่องจากเลเวอเรจสูงมีความเสี่ยงสูง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่ดีก่อนที่จะใช้เลเวอเรจในการเทรด นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงการใช้เงินทุนที่มีเลเวอเรจมากเกินไปในการเทรดแล้ว เทรดเดอร์ยังสามารถใช้คำสั่ง Stop Loss สำหรับตำแหน่งของตนได้ คำสั่ง Stop Loss จะทำให้ตำแหน่งของคุณปิดโดยอัตโนมัติเมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งลดจำนวนการสูญเสียที่คุณสามารถรับได้ นอกจากนี้ยังเป็นการดีกว่าถ้าใช้เลเวอเรจในการเทรดระยะสั้น

สรุป

เลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปิดตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่พวกเขาจะทำได้ด้วยเงินของตัวเอง จำนวนเลเวอเรจที่เทรดเดอร์จะได้รับขึ้นอยู่กับความผันผวนของสินทรัพย์และขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพหรือไม่

นอกจากจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นแล้ว เลเวอเรจยังเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย มีหลายวิธีในการลดความเสี่ยงและจัดการความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ควรจำไว้คืออย่าใช้เลเวอเรจโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วนก่อน

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

การเทรดด้วยเลเวอเรจนั้นอันตรายหรือไม่?

การเทรดแบบใช้เลเวอเรจมีความเสี่ยงมากกว่าการเทรดแบบไม่ใช้เลเวอเรจ เนื่องจากเทรดเดอร์สามารถสูญเสียไม่เพียงแต่เงินของตัวเอง แต่ยังรวมถึงเงินที่ไม่ได้เป็นของพวกเขาอีกด้วย ในบางกรณี เทรดเดอร์อาจสูญเสียสินทรัพย์ที่ซื้อด้วยเลเวอเรจ

คุณต้องชำระเลเวอเรจคืนหรือไม่?

ใช่ โดยคุณยืมเงินจากโบรกเกอร์ไปแล้ว ดังนั้นคุณต้องคืนมันตามปกติ โบรกเกอร์บางรายคิดดอกเบี้ยจากการเทรดด้วยมาร์จิ้น ดังนั้นการเทรดด้วยเลเวอเรจก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของคุณด้วย

การเทรดด้วยเลเวอเรจทำงานอย่างไร?

เมื่อเทรดเดอร์ใช้เลเวอเรจ พวกเขายืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ สิ่งนี้ทำให้เทรดเดอร์สามารถเปิดตำแหน่งได้มากขึ้นและซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาแพงกว่าที่พวกเขาสามารถซื้อได้ด้วยเงินของพวกเขาเพียงอย่างเดียวได้

ย้อนกลับ

อัปเดทแล้ว • 2023-03-13

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเทรดด้วยเลเวอเรจ 1:3000 ได้อย่างไร?

    FBS มอบเลเวอเรจให้ทันทีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีของคุณ เลเวอเรจสูงสุดที่ FBS คือ 1:3000 ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถฝากเงิน $1 และเทรด Forex ได้เหมือนกับคุณมีเงิน $3,000 เครื่องมือนี้ช่วยให้เทรดเดอร์เพิ่มผลกำไรสูงสุดได้แม้จากการเปลี่ยนแปลงของราคาเพียงเล็กน้อย

  • อัตราส่วนเลเวอเรจใดที่ฉันสามารถใช้ในการเทรดโลหะมีค่าได้?

    เมื่อเทรดโลหะมีค่า อัตราส่วนเลเวอเรจของเราจะคงที่เพื่อเพิ่มผลตอบแทนและควบคุมความเสี่ยง โปรดทราบว่าเลเวอเรจสำหรับโลหะจะแตกต่างจากเลเวอเรจที่ถูกตั้งค่าอยู่ใน Personal Area ของคุณ ซึ่งถูกปรับใช้กับคู่สกุลเงินและคู่สกุลเงินแปลกใหม่เท่านั้น

    สำหรับ XAU (ทองคำ) และ XAG (เงิน) เลเวอเรจจะคงที่ที่ 1:333 ซึ่งจะให้โอกาสที่ดีขึ้นสำหรับตำแหน่งระยะสั้นโดยไม่ลดทอนการจัดการความเสี่ยง โดยตราสารแพลเลเดียมและแพลทินัมสามารถเทรดได้ด้วยเลเวอเรจคงที่ที่ 1:100 ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลของการจัดการความเสี่ยง

    ด้วย FBS คุณสามารถเทรดโลหะมีค่าได้อย่างมั่นใจ รับประโยชน์จากอัตราส่วนเลเวอเรจที่กำหนดเองที่ถูกปรับให้เหมาะกับกลยุทธ์และการยอมรับความเสี่ยงของคุณ

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera