1. FBS >
  2. บล็อก FBS >
  3. จะเกิดอะไรขึ้นหากเกิดสภาวะตลาดหุ้นพัง
อัปเดทแล้ว • 2023-08-30

จะเกิดอะไรขึ้นหากเกิดสภาวะตลาดหุ้นพัง

cover (1).png

ตลาดหุ้นมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก โดยให้โอกาสแก่นักลงทุนในการซื้อและขายหุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไม่สามารถต้านทานช่วงเวลาแห่งความผันผวนได้ และเหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ก็คือสภาวะตลาดหุ้นพัง

ในบทความนี้ เราจะสำรวจธรรมชาติและผลกระทบของสภาวะตลาดหุ้นพัง เรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และค้นพบขั้นตอนที่ต้องดำเนินการหากต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวในฐานะนักลงทุน

สภาวะตลาดหุ้นพังคืออะไร?

สภาวะตลาดหุ้นพังคือการที่มูลค่าโดยรวมของตลาดหุ้นลดลงอย่างกะทันหันและรุนแรง ในช่วงที่เกิดวิกฤต ราคาหุ้นจะดิ่งลงซึ่งมักจะนำไปสู่การเทขายอย่างตื่นตระหนกและนักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่น สภาวะตลาดหุ้นพังอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งการพังของตลาดหุ้นและการปรับฐานของตลาดนั้นมีความแตกต่างกันอยู่

การปรับฐานของตลาดเป็นเรื่องปกติและมักจะเกิดขึ้นเมื่อราคาลดลงอย่างน้อย 10% จากจุดสูงสุดล่าสุด ในทางตรงกันข้าม สภาวะตลาดหุ้นพังจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือเอาไว้ล่วงหน้า

อะไรที่เป็นสาเหตุของสภาวะตลาดหุ้นพัง?

สาเหตุของสภาวะตลาดหุ้นพังนั้นมีหลากหลายและแตกต่างกัน สภาวะตลาดหุ้นพังอาจเกิดขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ฟองสบู่ของการเก็งกำไรที่นักลงทุนผลักดันราคาให้สูงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามหรือความไม่มั่นคงทางการเมือง และเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย แม้ว่าสภาวะบางอย่างอาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดสภาวะตลาดหุ้นพังได้มากขึ้น แต่ระยะเวลาและความรุนแรงของมันก็ยังไม่อาจคาดเดาได้

ปกติแล้วมันจะกินเวลานานเท่าไร?

ระยะเวลาของสภาวะตลาดหุ้นพังอาจแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงและความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าจะฟื้นกลับมาได้เร็วเพียงใด ในบางกรณีสภาวะตลาดหุ้นพังอาจเกิดขึ้นเพียงสั้น ๆ โดยกินเวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่บางกรณีอาจกินเวลาไปเป็นหลายเดือนหรือหลายปี

สภาวะตลาดหุ้นพังที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าเหตุการณ์วันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1987 เมื่อดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ได้ดิ่งลงกว่า 22% ภายในวันเดียว อย่างไรก็ตาม ตลาดได้กู้คืนความสูญเสียส่วนใหญ่ได้ภายในหนึ่งปี

ในทางกลับกัน สภาวะตลาดหุ้นพังที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ได้ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ซึ่งได้เริ่มขึ้นในปี 1929 และได้กินเวลาจนถึงปี 1932 ในช่วงเวลาดังกล่าว ตลาดหุ้นได้ร่วงลงเป็นเวลายาวนาน โดยสูญเสียมูลค่าไปเกือบ 90%

สภาวะตลาดหุ้นพังครั้งใหญ่และผลที่ตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทล่มในปี 1929

สาเหตุ: ราคาหุ้นถูกปั่นสูงเกินไปและมีการเก็งกำไรในวงกว้าง

ผลที่ตามมา: ความหายนะทางการเงิน ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ และคนตกงานเป็นจำนวนมาก

เหตุการณ์วันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) ในปี 1987

สาเหตุ: ขาดกฎระเบียบและการกำกับดูแลในภาคการเงินของสหรัฐฯ

ผลที่ตามมา: การลดลงอย่างรุนแรงของดัชนีหุ้นหลัก การสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุน และความผันผวนในตลาดการเงิน

วิกฤตฟองสบู่แตกในราคาสินทรัพย์ของญี่ปุ่นในช่วงปี 1989 - 1992

สาเหตุ: ระบบการเงินที่อ่อนแอ การกำกับดูแลกิจการที่ไม่ดี และการลงทุนเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และหุ้น

ผลที่ตามมา: ภาวะเศรษฐกิจซบเซาเป็นเวลานานที่เรียกว่าทศวรรษที่หายไป (Lost Decade)

วิกฤตการเงินในเอเชียในช่วงปี 1997 - 1998

สาเหตุ: การเทขายด้วยความตื่นตระหนก สกุลเงินที่มีมูลค่าสูงเกินไปและฟองสบู่ของสินทรัพย์ หนี้นอกประเทศและการกู้ยืมที่มีระดับสูง

ผลที่ตามมา: มูลค่าของสกุลเงินที่ลดลงอย่างรุนแรง สภาวะตลาดหุ้นพัง และเศรษฐกิจตกต่ำ โดยตลาดเอเชียหลายแห่งได้สูญเสียมูลค่าส่วนใหญ่ไปในช่วงเวลานี้

วิกฤตฟองสบู่ดอทคอมในช่วงปี 2000 - 2002

สาเหตุ: การลงทุนเก็งกำไรในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและการปั่นราคาหุ้นเทคโนโลยีสูงเกินไป

ผลที่ตามมา: การล่มสลายของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพดอทคอมหลายแห่งซึ่งส่งผลให้นักลงทุนขาดทุนเป็นจำนวนมาก

วิกฤตการเงินในปี 2008

สาเหตุ: การล่มสลายของตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ และวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์

ผลที่ตามมา: การล่มสลายทางการเงินอย่างรุนแรงทั่วโลก เมื่อดัชนีหุ้นหลัก ๆ รวมถึง Dow Jones และ S&P 500 ได้ร่วงลงอย่างมาก โดยสถาบันการเงินหลายแห่งต่างเผชิญกับภาวะล้มละลายหรือใกล้จะล้มละลาย

ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ล่มสลายครั้งประวัติศาสตร์เหล่านี้และเหตุการณ์อื่น ๆ นักลงทุนหลายล้านคนต่างสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก และผลกระทบทางเศรษฐกิจก็มหาศาล รัฐบาลและธนาคารกลางหลายแห่งถูกบังคับให้ใช้มาตรการพิเศษเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน ป้องกันการล้มละลายของธนาคารในวงกว้าง และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ มาตรการเหล่านี้ ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือครั้งใหญ่แก่สถาบันการเงินหลายแห่ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการดำเนินการนโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

จะเกิดอะไรขึ้นกับพอร์ตการลงทุน?

เมื่อตลาดหุ้นตก หุ้นต่าง ๆ อาจประสบกับการสูญเสียราคาได้ นักลงทุนที่ตื่นตระหนกและเทขายหุ้นที่ตัวเองถือครองในระหว่างที่เกิดสภาวะตลาดหุ้นพังอาจล็อกการขาดทุนเหล่านี้ซึ่งทำให้ยากต่อการกู้คืนในตอนที่ตลาดกลับมามีเสถียรภาพ

สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการลงทุนของคุณในช่วงที่เกิดสภาวะตลาดหุ้นพัง ได้แก่

  • มูลค่าพอร์ตการลงทุนลดลงอย่างมาก: การชะลอตัวของตลาดอย่างรุนแรงสามารถนำไปสู่การลดลงอย่างมากในมูลค่าโดยรวมของพอร์ตการลงทุน
  • การสูญเสียเงินออมเพื่อการเกษียณ: บัญชีเกษียณอายุที่ลงทุนอย่างมากในตลาดหุ้นอาจประสบกับความสูญเสียเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นอันตรายต่อแผนการเงินในระยะยาว
  • การเรียกหลักประกันเพิ่มและการบังคับขาย: นักลงทุนที่ซื้อหุ้นโดยใช้เงินที่ยืมมาจากหลักประกันอาจเผชิญกับการเรียกหลักประกันเพิ่มซึ่งจะบังคับให้พวกเขาขายสินทรัพย์ในราคาที่ไม่น่าพอใจเพื่อให้เป็นไปตามภาระผูกพันของตน

ควรทำอย่างไรหากเกิดสภาวะตลาดหุ้นพัง?

สงบสติอารมณ์

แม้ว่าสภาวะตลาดหุ้นพังอาจทำให้ตกใจได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจอย่างเร่งรีบและใช้อารมณ์

อย่าเพิ่งขายสิ่งที่ลงทุนไป

การขายสิ่งที่ลงทุนไปในช่วงสภาวะตลาดหุ้นพังสามารถเปลี่ยนการสูญเสียในกระดาษให้กลายเป็นการสูญเสียจริง ๆ ได้ ดังนั้น ให้มุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์การลงทุนระยะยาวแทน

ช้อนซื้อในช่วงที่ตลาดร่วง

สำหรับผู้ที่มีเงินพร้อมลงทุน การล่มลงของตลาดอาจเป็นโอกาสในการซื้อสินทรัพย์คุณภาพสูงในราคาที่ลดลง แถมยังมีโอกาสในการเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาจากการซื้อขายหุ้นเหล่านั้นอีกด้วย

ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

ขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์ได้

กระจายความเสี่ยง

การกระจายการลงทุนของคุณในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดตกต่ำได้

สรุป

สภาวะตลาดหุ้นพังอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจและนักลงทุนรายย่อย แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ประวัติศาสตร์ก็ได้แสดงให้เห็นว่าในที่สุดตลาดก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้ตามกาลเวลา โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติของสภาวะตลาดหุ้นพัง สงบสติอารมณ์ และทำการตัดสินใจอย่างรอบคอบ จะทำให้นักลงทุนสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้ได้และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความมั่นคงทางการเงินและความสำเร็จในระยะยาว

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

สภาวะตลาดหุ้นพังครั้งใหญ่ที่สุดตลอดกาลคือครั้งใด?

เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทล่มในปี 1929 ถือเป็นสภาวะตลาดหุ้นพังครั้งใหญ่ที่สุดตลอดกาล การที่ตลาดหุ้นพังในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ความหายนะทางเศรษฐกิจและผลกระทบระยะยาวทำให้มันเป็นสภาวะตลาดหุ้นพังครั้งที่ใหญ่ที่สุด

คุณควรลงทุนเงินไปที่ใดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสภาวะตลาดหุ้นพัง?

แนวทางที่ดีที่สุดคือการกระจายพอร์ตการลงทุนให้มีความหลากหลายเพื่อช่วยลดผลกระทบจากสภาวะตลาดหุ้นพัง คุณสามารถกระจายการลงทุนของคุณไปยังสินทรัพย์หลายประเภท เช่น พันธบัตร โลหะมีค่า อนุพันธ์ และอื่น ๆ

สภาวะตลาดหุ้นพังเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในบางช่วงเวลาของปีหรือไม่?

สภาวะตลาดหุ้นพังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและโดยทั่วไปไม่สามารถคาดเดาได้ พฤติกรรมของตลาดได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย รวมถึงภาวะเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และความเชื่อมั่นของตลาดในภาพรวม ด้วยเหตุนี้ การพยายามคาดการณ์จังหวะเวลาที่จะเกิดสภาวะตลาดหุ้นพังจึงเป็นเรื่องยาก

  • 1765

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera