ดัชนี Big Mac ในการซื้อขายฟอเร็กซ์
แม้จะมีการโต้เถียงกันเรื่องอาหารขยะ แต่ Big Mac ก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่รักของคนทั่วโลก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า Big Mac ยังเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจด้วยนะ?
อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับดัชนี Big Mac, ความหมายของมัน, วิธีการสร้างดัชนี และวิธีการนำไปใช้ในการซื้อขาย
แพตตี้เนื้อวัวล้วนสองชิ้น
ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน จะโตเกียว มอสโก โคลอมโบ หรือออสโล คุณสามารถออกไปข้างนอก ตรงไปที่แมคโดนัลด์ที่ใกล้ที่สุด และรับประทานแพตตี้เนื้อวัวล้วนสองชิ้น ผักกาด ชีส แตงกวาดอง และหัวหอม ราดด้วยซอสสูตรพิเศษและประกบบนล่างด้วยขนมปังสองชิ้นได้ คุณสามารถซื้อ Big Mac ให้ตัวคุณเองได้หนึ่งชิ้น พร้อมรับ 500 แคลอรีโดยประมาณที่เต็มไปด้วยความสุข หรืออาจจะไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับนิสัยการกินของคุณ
ในแต่ละประเทศ บิ๊กแม็ค (Big Mac) มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของรูปลักษณ์ ขนาด และแคลอรี แต่สูตรพื้นฐานสำหรับแฮมเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกยังคงเหมือนเดิม
ส่วนผสมของ Big Mac ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่พบได้ทั่วไปในเกือบทุกประเทศ สิ่งที่ลูกค้าประจำซื้อทุกวันในร้านขายของชำในท้องถิ่น: หัวหอม, เนื้อสัตว์, ผักกาดหอม, ชีส, ผักดอง ฯลฯ ดังนั้นคุณอาจเรียกได้ว่าเป็นตะกร้าสินค้าพร้อมใช้ นั่นเป็นเหตุผลที่ในช่วงกลางของยุค 80 The Economist ได้เลือกการกำหนดราคาของเบอร์เกอร์นี้เป็นเครื่องมือง่ายๆ สำหรับการวิเคราะห์สกุลเงิน
ทำความรู้จักกับดัชนี Big Mac
ดัชนี Big Mac ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1986 โดย The Economist หนึ่งในนิตยสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในธุรกิจระหว่างประเทศ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม
ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 170 ปี ทำให้ The Economist ได้รับการยกย่องว่าเป็นมาตรฐานทองคำสำหรับรายงานข่าวเศรษฐกิจและสถานการณ์โลก พนักงานของนิตยสารนี้ประกอบด้วยนักข่าวมากความสามารถและผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา The Economist ได้แนะนำดัชนีต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย ดัชนี Democracy, ดัชนี Glass Ceiling, ดัชนี Most Dangerous Cities, ดัชนี Commodity-Price และดัชนี Big Mac โดยการอ้างอิงจากราคาของ Big Mac ในประเทศต่างๆ แล้วนั้น ดัชนีนี้ควรให้การประเมินค่าสกุลเงินที่แม่นยำมากขึ้น ไม่มีคำไหนที่จะอธิบายได้ดีไปกว่านี้แล้ว
สมมติจากสองประเทศนี้ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน เราเปรียบเทียบราคาของ Big Mac ในสองประเทศนี้ โดยแสดงเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ความแตกต่างของราคาจะทำให้เราได้อัตราแลกเปลี่ยนของ Big Mac ซึ่งมักจะแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เราได้รับจากแหล่งที่เป็นทางการ จากนั้น เราสามารถบอกต่อได้ว่าสกุลเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป
ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน Big Mac ดอลลาร์ต่อหยวน เราได้อัตราส่วนคร่าวๆ ที่ 1:4 ซึ่งก็คือ $5.93 สำหรับแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ และ ¥24.9 ในจีน ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เราได้มีแนวคิดอีกอย่างหนึ่งว่า สกุลเงินหยวนของจีนควรมีมูลค่าเท่าไร ซึ่งก็คือ ¥4.20 ต่อ $1 เทียบกับอัตราอย่างเป็นทางการคือ ¥6.7 ต่อ $1
วิธีการกินนี้เรียกอีกอย่างว่า Burgernomics มันอ้างจากทฤษฎี PPP ซึ่งย่อมาจาก Purchasing Power Parity (ทฤษฎีความเสมอภาคด้านอำนาจซื้อ) แนวคิดนี้เสนอไอเดียที่ว่า ในระยะยาว อัตราแลกเปลี่ยนควรมุ่งไปสู่การทำให้ราคาเท่ากันสำหรับตะกร้าสินค้าและบริการที่เหมือนกันในสองประเทศใดๆ ในกรณีนี้ตะกร้าสินค้าดังกล่าวคือ Big Mac
ดัชนี Big Mac แสดงถึงอะไร?
แม้ว่าดัชนี Big Mac แทบจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่แม่นยำสำหรับการระบุมูลค่าของสกุลเงินได้ แต่ถึงอย่างนั้น ข้อมูลนี้ก็สามารถให้ผลลัพธ์และแนวคิดที่คาดไม่ถึงได้
ตัวอย่างเช่น ตามดัชนี Big Mac รูเบิลรัสเซียเป็นสกุลเงินที่มีมูลค่าต่ำที่สุดในโลก (-69.9%) ในประกาศล่าสุด หนึ่งดอลลาร์มีมูลค่ามากกว่า 70 รูเบิล ในขณะที่ Big Mac ในรัสเซียมีราคาเพียง $1.74 ซึ่งเป็นราคาของเบอร์เกอร์ที่ต่ำที่สุดในโลก! ดังนั้น จากมุมมองของดัชนี Big Mac หนึ่งดอลลาร์ควรมีมูลค่าเพียง 23 รูเบิล
สกุลเงินอื่นที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ได้แก่ ลีราตุรกี, ปอนด์เลบานอน, ริงกิตมาเลเซีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย และลิวโรมาเนีย
ดัชนี Big Mac แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินฟรังก์ของสวิตเซอร์แลนด์เป็นสกุลเงินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก คุณจะต้องใช้เงิน 6.98 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อ Big Mac ที่สวิตเซอร์แลนด์โดยอัตราดัชนี Big Mac อยู่ที่ 1.12 ฟรังก์ต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแสดงให้เห็นว่าอัตรา USDCHF อยู่ที่ 0.93 ซึ่งหมายความว่าสกุลเงินฟรังก์ของสวิสเซอร์แลนด์มีมูลค่าสูงเกินไปถึง 20.16% เช่นเคย มันก็คงจะเป็นเช่นนั้นหากเราเลือกที่จะทำให้เศรษฐศาสตร์เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยทิ้งข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดออกไป
เราสามารถใช้การเปรียบเทียบราคาของ Big Mac เพื่อซื้อขายได้หรือไม่?
แม้จะมีชื่อที่ตลกน่าขบขัน แต่ดัชนี Big Mac หรือ Burganomics ไม่ได้เป็นเพียงวิธีที่จะล้อเล่นตลกๆ กับเศรษฐกิจ มันได้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้ หนังสือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์และการศึกษาเชิงวิชาการที่หลากหลายได้รวมดัชนีนี้เอาไว้ด้วย เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบสกุลเงิน
แต่มันเป็นเครื่องมือพยากรณ์ที่ดีพอจะสามารถใช้สำหรับการซื้อขายได้หรือไม่?
เหตุผลหนึ่งที่เทรดเดอร์อาจใช้ดัชนีนี้ในการพยากรณ์ตลาด ก็คือการสร้างแผนที่เส้นทางที่เป็นไปได้สำหรับตำแหน่งที่ตลาดอาจกำลังมุ่งหน้าไป อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรพิจารณาปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อราคาของแฮมเบอร์เกอร์ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่แน่ชัดว่าตลาดจะไปที่ทิศทางใด
สรุป
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าดัชนี Big Mac ไม่ได้พิจารณาความผันผวนเล็กน้อยในระยะสั้นของตลาด Forex มันมุ่งเน้นไปที่ระยะยาวแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อจับคู่กับตัวบ่งชี้อื่นๆ และมีข้อมูลตลาดต่างๆ จำนวนมากมาช่วยเสริม ดัชนีนี้อาจมีประโยชน์ที่ช่วยติดอาวุธให้กับการซื้อขายที่มีอยู่ของคุณ
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถระบุดัชนี Big Mac เมื่อทำการซื้อขาย Forex กับ FBS เพื่อดูว่าจะส่งผลต่อกลยุทธ์และผลลัพธ์ของคุณอย่างไรได้
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ดัชนี Big Mac คืออะไร?
ดัชนี Big Mac เป็นเครื่องมือที่ The Economist คิดค้นขึ้นในปี 1986 เพื่อวัดความไม่สมดุลของกำลังซื้อของผู้บริโภคระหว่างประเทศต่างๆ ดัชนีนี้ใช้เบอร์เกอร์แทน "ตะกร้าสินค้า" ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่แสดงความแตกต่างของราคาผู้บริโภค
ดัชนี Big Mac ใช้เปรียบเทียบอะไร?
ดัชนี Big Mac เปรียบเทียบราคาของเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงในประเทศต่างๆ เพื่อให้มุมมองอีกทางหนึ่งว่าสกุลเงินประจำชาติมีมูลค่าเป็นเท่าไร ซึ่งผลลัพธ์มักขัดแย้งกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ
สกุลเงินอาจถูกมองว่ามูลค่าสูงเกินหรือต่ำเกินไปได้อย่างไร?
มูลค่าของสกุลเงินอาจถูกมองว่ามีมูลค่าสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ขึ้นอยู่กับว่ามีความจำเป็นต้องสร้างสมดุลทางการค้าหรือไม่ สกุลเงินที่ถูกประเมินว่ามูลค่าต่ำเกินไป ก็แสดงว่าสินค้าของประเทศมีราคาไม่แพงมากในตลาดโลก ส่วนสกุลเงินที่มีมูลค่าสูงเกินไปก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำเข้า
ดัชนี Big Mac เป็นการวัดผลที่เหมาะสมสำหรับ PPP หรือไม่?
ดัชนี Big Mac เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ PPP อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรมองว่าดัชนีเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบสกุลเงินสากล
Big Mac PPP คืออะไร?
Big Mac PPP (PPP ย่อมาจาก Purchasing Power Parity) เป็นรายงานประจำปีที่เปรียบเทียบสกุลเงินต่างๆ ตามราคาสัมพัทธ์ของ Big Mac ทั่วโลก