1. FBS >
  2. บล็อก FBS >
  3. มาร์จิ้นคอลคืออะไรและจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร
อัปเดทแล้ว • 2024-05-27

มาร์จิ้นคอลคืออะไรและจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร

cover.png

คุณคงเคยได้ยินเรื่องเซอร์ไพรส์ที่ไม่น่าพอใจของเทรดเดอร์อย่างมาร์จิ้นคอล (Margin Call) หรือการเรียกหลักประกันเพิ่ม และเราหวังว่าคุณจะรู้ว่ามันอาจส่งผลร้ายแรงเพียงใดกับเงินของคุณ

มาร์จิ้นคอลคือคำสั่งของโบรกเกอร์ที่เตือนให้เทรดเดอร์เพิ่มเงินเข้าบัญชีมาร์จิ้นให้มียอดคงเหลือขั้นต่ำตามที่โบรกเกอร์กำหนด น่าเสียดายที่บางคนที่เทรดด้วยมาร์จิ้นไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

แต่ในขณะที่คำว่ามาร์จิ้นคอลอาจฟังดูไม่เป็นมงคล แต่การหวาดกลัวคำคำนี้ก็ไม่สามารถหยุดเทรดเดอร์ที่หิวกระหายจากการใช้เลเวอเรจในพอร์ตการลงทุนของพวกเขาได้ ดังนั้นเรามาอธิบายคำที่สร้างปัญหาให้กับบัญชีของเทรดเดอร์แบบเข้าใจง่าย ๆ และมาหาคำตอบกันว่ามาร์จิ้นคอลคืออะไรและจะหลีกเลี่ยงมันได้อย่างไร เพราะกันไว้ดีกว่าแก้

ประเด็นสำคัญ

  • มาร์จิ้นคอลจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าบัญชีของเทรดเดอร์ลดลงต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพตามที่โบรกเกอร์กำหนด
  • เทรดเดอร์สามารถโดนมาร์จิ้นคอลได้จากการเทรดโดยใช้เลเวอเรจสูง ๆ ด้วยเงินในบัญชีที่มีไม่เพียงพอ
  • มาร์จิ้นคอลมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูงหรือมีการเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่คาดคิด
  • เพื่อไม่ให้โดนมาร์จิ้นคอล เทรดเดอร์อาจฝากเงินเพิ่มเติมหรือปิดตำแหน่งไปบางส่วน
  • เทรดเดอร์สามารถหลีกเลี่ยงมาร์จิ้นคอลได้โดยการทำความเข้าใจกับข้อกำหนดเรื่องหลักประกัน ใช้คำสั่ง Stop Loss ปรับขนาดตำแหน่ง และทำความเข้าใจกลยุทธ์การซื้อขายของพวกเขาอย่างถ่องแท้

มาร์จิ้นคอล (Margin Call) หรือการเรียกหลักประกันเพิ่มคืออะไร

มาร์จิ้นคอล (Margin Call) หรือการเรียกหลักประกันเพิ่ม หมายถึง การเทรดด้วยมาร์จิ้นซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในหมู่เทรดเดอร์เพื่อเพิ่มกำลังการซื้อและเปิดคำสั่งซื้อขายขนาดใหญ่ขึ้น โดยการเปิดบัญชีมาร์จิ้น จะทำให้ผู้คนสามารถเทรดด้วยมาร์จิ้นได้ นั่นหมายความว่าพวกเขาจะใช้เงินของตัวเองและยืมเงินจากโบรกเกอร์มาเพื่อเทรดแต่ละตราสาร การเทรดด้วยมาร์จิ้นอาจนำกำไรมาให้เป็นจำนวนมาก แต่มันก็เพิ่มการขาดทุนได้มากเช่นกัน

“การใช้มาร์จิ้นนั้นเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ในตอนที่ตลาดเคลื่อนไหวไปตามที่คาดไว้ แต่การโดนมาร์จิ้นคอลนั้นแย่สุด ๆ”

มันมาพร้อมกับความเสี่ยงโดยธรรมชาติที่เทรดเดอร์ต้องระวัง นั่นคือมาร์จิ้นคอล ซึ่งจะบ่งชี้ว่าตราสารที่ถืออยู่ในบัญชีมาร์จิ้นนั้นมีมูลค่าลดลง พูดง่าย ๆ ก็คือ มาร์จิ้นคอลหรือการเรียกหลักประกันเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าบัญชีของเทรดเดอร์ต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพที่โบรกเกอร์ของพวกเขาได้กำหนดเอาไว้

ใช่ บริษัทโบรกเกอร์ทุกแห่งต่างก็มีข้อกำหนดหลักประกันรักษาสภาพขั้นต่ำที่เทรดเดอร์ต้องปฏิบัติตามในขณะที่ทำการเทรดด้วยมาร์จิ้น โบรกเกอร์บางรายมีระดับหลักประกันรักษาสภาพขั้นต่ำมากกว่ารายอื่น ๆ โดยบางรายก็ต้องการมากถึง 30–40% FBS ต้องการระดับมาร์จิ้นขั้นต่ำ 40% เพื่อมอบเงื่อนไขที่สะดวกที่สุดให้กับเทรดเดอร์ของพวกเขา

อะไรที่ทำให้โดนมาร์จิ้นคอล

มาร์จิ้นคอลหรือการเรียกหลักประกันเพิ่มอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการเทรดโดยใช้เลเวอเรจสูงและมีเงินในบัญชีไม่เพียงพอ เมื่อเทรดเดอร์ใช้เลเวอเรจ พวกเขาก็กำลังยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อเปิดตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น

อย่างไรก็ตาม เลเวอเรจอาจทำร้ายเทรดเดอร์ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน หรือราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียจำนวนมากที่อาจทำให้มูลค่าบัญชีของพวกเขาลดลงอย่างรวดเร็ว

กลยุทธ์การซื้อขายที่ผิดพลาดและถูกสร้างมาไม่ดีก็สามารถโดนมาร์จิ้นคอลได้เช่นกัน

เมื่อโดนมาร์จิ้นคอล

มาร์จิ้นคอลมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูงหรือมีการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างกะทันหัน ข่าว เหตุการณ์ รายงานเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอื่น ๆ อาจทำให้ตลาดเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันทันที ซึ่งอาจทำให้โดนมาร์จิ้นคอลได้ตลอดเวลา

เทรดเดอร์ที่ใช้เลเวอเรจสูงและไม่มีเงินเพียงพอที่จะครอบคลุมการขาดทุนก็มีแนวโน้มที่จะโดนมาร์จิ้นคอลในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน

วิธีการตอบสนองเมื่อโดนมาร์จิ้นคอล

หากเทรดเดอร์โดนมาร์จิ้นคอล พวกเขาจะต้องตอบสนองทันที โดยต้องดำเนินการภายในวันครบกำหนดที่ระบุ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่สองถึงห้าวันแตกต่างกันไป

ในการตอบสนองต่อมาร์จิ้นคอล เทรดเดอร์สามารถทำได้สองวิธีด้วยกัน:

  1. ฝากเงินเข้าบัญชีเพิ่มเติม การฝากเงินเพิ่มเติมจะช่วยเพิ่มมูลค่าบัญชีและทำให้มันกลับมาเหนือระดับหลักประกันรักษาสภาพที่กำหนด
  2. ปิดตำแหน่งออกบางส่วน การปิดตำแหน่งออกบางส่วนจะช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมและป้องกันการสูญเสียเพิ่มเติม

เมื่อโดนมาร์จิ้นคอล เทรดเดอร์ต้องเลือกระหว่างฝากเงินเพิ่มเติมหรือปิดบางตำแหน่งที่เปิดในบัญชีออกไป มิฉะนั้น โบรกเกอร์จะปิดตำแหน่งของคุณออกไปให้มากพอที่จะทำให้ยอดคงเหลือของคุณกลับมาเป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่งบางครั้งก็ไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

เทรดเดอร์ที่โดนมาร์จิ้นคอลสามารถติดต่อโบรกเกอร์เพื่อหาวันครบกำหนดและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ ซึ่ง FBS มีการสนับสนุนลูกค้าในหลายภาษาตลอด 24/7 ที่พร้อมจะตอบคำถามของลูกค้า

frame.png

วิธีการหลีกเลี่ยงมาร์จิ้นคอล

หากคุณไม่เข้าใจแนวคิดของการเทรดด้วยมาร์จิ้นและวิธีการทำงานของมาร์จิ้นคอล คุณจะต้องตกใจแน่ที่ได้เห็นพอร์ตของคุณแตก

แต่เทรดเดอร์สามารถป้องกันเหตุการณ์หายนะนี้ได้นะ นี่คือเคล็ดลับบางส่วนในการหลีกเลี่ยงมาร์จิ้นคอล:

  • เทรดด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้

ก่อนเทรดด้วยมาร์จิ้น ให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนว่าคุณต้องการมาร์จิ้นจริงหรือไม่ หากคุณต้องการ คุณต้องเข้าใจเรื่องการเทรดด้วยมาร์จิ้น ความผันผวน และกลยุทธ์การซื้อขาย และใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดความผิดพลาดที่มีค่าใช้จ่ายสูง

  • เรียนรู้ข้อกำหนดมาร์จิ้นก่อนที่คุณจะวางคำสั่งซื้อขายใด ๆ

เมื่อทราบรายละเอียดทั้งหมดแล้ว คุณสามารถเลือกเลเวอเรจที่เหมาะสมและตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีเงินเพียงพอที่จะครอบคลุมคำสั่งซื้อขายของคุณ นอกจากนี้ ให้หมั่นตรวจสอบคำสั่งซื้อขายและยอดมาร์จิ้นของคุณอย่างสม่ำเสมอด้วย

  • ใช้คำสั่ง Stop Loss หรือ Trailing Stop

คำสั่งดังกล่าวสามารถจำกัดการขาดทุนของคุณและควบคุมมูลค่าบัญชีของคุณไม่ให้ต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพที่กำหนด

  • ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนไม้แทนที่จะเข้าเทรดทั้งหมดในไม้เดียว

การค่อย ๆ เพิ่มจำนวนไม้ (Scaling In) หมายความว่าให้คุณเริ่มต้นด้วยจำนวนน้อย ๆ ก่อนจากนั้นค่อยเพิ่มเข้าไปอย่างต่อเนื่อง โดยคุณเปิดคำสั่งซื้อขายขนาดเล็กหนึ่งไม้ก่อน จากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มคำสั่งซื้อขายเข้าไปอีกเมื่อราคาเคลื่อนไหวตามที่คุณต้องการ แล้วขยับ Stop Loss ตาม ดังนั้น คุณจะสามารถลดความเสี่ยงและเลือกเลเวอเรจที่เหมาะสมได้

ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ กลยุทธ์ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นอย่างดี และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คุณอาจหลีกเลี่ยงการโดนมาร์จิ้นคอลบนเส้นทางการเทรดของคุณได้

วิธีคำนวณมาร์จิ้นคอล: สูตรและตัวอย่าง

สมมติว่าเทรดเดอร์มีบัญชีมาร์จิ้นที่มีเงินอยู่ $20,000 และตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น XYZ จำนวน 500 หุ้นในราคา $50 ต่อหุ้น ต้นทุนคำสั่งซื้อทั้งหมดจะอยู่ที่ $25,000 ($50 ต่อหุ้น x 500 หุ้น)

สมมติว่าโบรกเกอร์มีข้อกำหนดมาร์จิ้นที่ 50% เทรดเดอร์ควรวางเงิน $12,500 (50% ของ $25,000) และยืมเงินที่เหลือ $12,500 จากโบรกเกอร์เพื่อทำการซื้อให้เสร็จสมบูรณ์

หากมูลค่าของหุ้น XYZ ตกลงไปที่ $40 ต่อหุ้น มูลค่าคำสั่งซื้อทั้งหมดจะเท่ากับ $20,000 ($40 ต่อหุ้น x 500 หุ้น) ซึ่งเท่ากับยอดเงินเริ่มต้นในบัญชีมาร์จิ้นของเทรดเดอร์

อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ยังคงเป็นหนี้โบรกเกอร์เป็นจำนวน $12,500 ที่ยืมมาเพื่อซื้อหุ้น เนื่องจากมูลค่าของการลงทุนได้ลดลงต่ำกว่าข้อกำหนดมาร์จิ้นที่ 50% เทรดเดอร์จึงโดนมาร์จิ้นคอลจากโบรกเกอร์ให้ฝากเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อให้บัญชีกลับสู่ระดับมาร์จิ้นที่กำหนด

ในการคำนวณจำนวนมาร์จิ้นคอล โบรกเกอร์จะใช้สูตรเดียวกันกับในตัวอย่างก่อนหน้านี้:

จำนวนมาร์จิ้นคอล = (มูลค่าปัจจุบันของหลักทรัพย์ในบัญชี x ข้อกำหนดมาร์จิ้น) - ยอดคงเหลือในบัญชี

ในกรณีนี้ จำนวนมาร์จิ้นคอลจะเป็น:

จำนวนมาร์จิ้นคอล = ($20,000 x 50%) - $12,500

จำนวนมาร์จิ้นคอล = $10,000 - $12,500

จำนวนมาร์จิ้นคอล = -$2,500

ดังนั้น เทรดเดอร์ควรฝากเงินเพิ่มอีก $2,500 เพื่อให้ครบตามที่มาร์จิ้นคอลกำหนด และรักษาตำแหน่งในหุ้น XYZ เอาไว้ หากเทรดเดอร์ไม่สามารถทำได้ตามที่มาร์จิ้นคอลกำหนด โบรกเกอร์อาจชำระหนี้ด้วยการปิดคำสั่งซื้อขายที่เปิดอยู่บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อให้ครอบคลุมหนี้คงค้าง

การเทรดด้วยมาร์จิ้นนั้นเสี่ยงแค่ไหน

การเทรดจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อพูดถึงการเทรดด้วยมาร์จิ้น แม้จะทวีคูณกำไรได้ แต่มันก็สามารถทวีคูณการขาดทุนได้ด้วยเช่นกัน การใช้เลเวอเรจสามารถล้างบัญชีของเทรดเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว หากตลาดเคลื่อนที่สวนทางกับพวกเขา นอกจากนี้ การโดนมาร์จิ้นคอลอาจสร้างความเครียดและทำให้ยากที่จะจัดการในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ที่ต้องการเทรดด้วยมาร์จิ้นควรรู้จักตลาดเป็นอย่างดีและยอมรับความเสี่ยงได้ สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความเสี่ยงของการเทรดด้วยมาร์จิ้นอย่างรอบคอบก่อนที่จะเริ่ม

สรุป

การเทรดด้วยมาร์จิ้นอาจเป็นวิธีที่ให้ผลกำไรในการเทรดและเพิ่มผลกำไรที่เป็นไปได้ แต่มันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น เทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดด้วยมาร์จิ้นควรเข้าใจตลาด การเทรดด้วยมาร์จิ้น และยอมรับความเสี่ยงได้ ในกรณีที่จำเป็น ให้เติมเงินเพื่อให้ครบตามที่มาร์จิ้นคอลกำหนด หากเทรดเดอร์โดนมาร์จิ้นคอล พวกเขาควรปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างรวดเร็วและป้องกันไม่ให้หลักทรัพย์ถูกชำระบัญชี

  • 5336

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera