ประวัติศาสตร์ของการเทรด Forex
ทุกวันนี้ การซื้อขาย Forex มีให้บริการในทุกครัวเรือน เพียงคุณมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อถือได้และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เสถียร อย่างไรก็ตาม มีคนไม่มากเท่าไรที่รู้ว่าการแลกเปลี่ยนสกุลเงินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย ในความเป็นจริงแล้วมันมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเมื่ออารยธรรมมนุษย์ยุคแรกเริ่มใช้เงินและสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน
ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และการเทรด Forex สมัยใหม่นั้นพัฒนาไปอย่างไร และมันกลายมาเป็นอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ได้อย่างไร
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
รูปแบบสกุลเงินแรกที่เป็นที่รู้จัก คือ สกุลเงินเชเกล (shekel) ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้วโดยชาวเมโสโปเตเมีย ก่อนหน้านั้น การแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งของยังเป็นวิธีการหลักในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสินค้าจำพวกหนังสัตว์ เกลือ และเครื่องเทศเป็นที่ต้องการสูง และถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าอื่น ๆ
จากนั้น ประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล ผู้คนในหลายประเทศเริ่มหันมาใช้ทองคำ (และบางครั้งก็เป็นโลหะเงิน) เพื่อผลิตเหรียญรุ่นแรก สกุลเงินยุคแรกเหล่านี้ได้ช่วยกำหนดรูปแบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเป็นรูปแบบเดียวกัน และนำมาตรฐานมาสู่การซื้อขาย
ตลาด Forex แห่งแรก
เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มใช้สกุลเงินของตนเองและเปิดการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเวลานานอยู่เหมือนกันที่ยังไม่มีความพยายามครั้งสำคัญในการสร้างสถาบันแยกต่างหากสำหรับการเทรด Forex โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 17 เมืองอัมสเตอร์ดัมก็ได้เปิดตลาด Forex แห่งแรกในยุโรป ตลาดนี้จะมุ่งเน้นไปที่การซื้อขายสกุลเงินของประเทศเนเธอร์แลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งได้ช่วยรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน โดยหลังจากนั้น ตลาด Forex และการซื้อขาย Forex ก็ได้เริ่มกระจายไปทั่วโลก
ความเจริญและความเสื่อมของระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)
เมื่อเวลาผ่านไป ก็เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้เหรียญทองและเหรียญเงินในการซื้อขายทุกวันนั้นเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีเหรียญทองหมุนเวียนอยู่ไม่มากนัก เพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลได้เริ่มออกเงินกระดาษที่ทำหน้าที่เป็นสัญญาว่าจะจ่ายทองคำหรือเงินตามจำนวนที่กำหนดให้กับผู้ถือธนบัตร
อย่างไรก็ตาม เงินกระดาษนี้จะไม่มีมูลค่าที่แท้จริงหากไม่มีคำสั่งของรัฐบาลที่เชื่อมโยงมูลค่าของมันเข้ากับมูลค่าของโลหะมีค่า หากประเทศใดตัดสินใจพิมพ์เงินกระดาษจำนวนมากตามใจตัวเอง มันอาจส่งผลให้มูลค่าสกุลเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ หลายประเทศทั่วโลกจึงตัดสินใจนำสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานทองคำ (Gold Standard) มาใช้ มาตรฐานนี้ได้อนุญาตให้รัฐบาลเชื่อมโยงมูลค่าของสกุลเงินเข้ากับทองคำในปริมาณที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น หากทองคำ 1 ออนซ์ ได้ถูกกำหนดให้มีราคา $1,000 มูลค่าของเงิน $1 จะเท่ากับ 0.001 ของทองคำ 1 ออนซ์ ด้วยเหตุนี้ จำนวนเงินกระดาษที่ประเทศสามารถพิมพ์ได้จึงถูกจำกัดตามปริมาณทองคำที่ถืออยู่ในทุนสำรองของตน มาตรฐานนี้ได้ช่วยรับประกันเสถียรภาพด้านราคาและขัดขวางอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากรัฐบาลจะไม่สามารถขยายปริมาณเงินได้
สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างมูลค่าของสกุลเงินและทองคำได้ทำให้การเชื่อมโยงสกุลเงินต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้นง่ายขึ้น เนื่องจากแต่ละสกุลเงินต้องใช้จำนวนเงินที่แตกต่างกันในการซื้อทองคำ 1 ออนซ์ มันจึงได้เริ่มทำหน้าที่เป็นมาตรวัดของอัตราแลกเปลี่ยน
ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 19 มาตรฐานทองคำได้ถูกนำมาใช้ในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทั่วโลก มันได้สร้างเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและได้เร่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เริ่มต้นขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ประเทศต่าง ๆ ต้องแบกรับนั้นมากเกินกว่าทองคำสำรองที่ประกันอยู่ ซึ่งทำให้พวกเขาเพิกเฉยต่อข้อจำกัดที่กำหนดโดยมาตรฐานทองคำและเริ่มพิมพ์เงินมากขึ้น โดยไม่สนว่าพวกเขามีทองคำสำรองอยู่มากเพียงใด
ในตอนท้ายของทศวรรษที่ 1930 และด้วยสงครามโลกครั้งที่สองที่ดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบ เห็นได้ชัดว่ามาตรฐานทองคำไม่ยั่งยืนเมื่อประเทศหนึ่งต้องต่อสู้กับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods): หน้าใหม่ในประวัติศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มใกล้เข้ามา ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิบัติการทางทหารก็ยากที่จะกลับมายืนได้อีกครั้ง ในปี 1944 คณะผู้แทนจากหลายประเทศทั่วโลกได้จัดการประชุมขึ้นที่เมืองเบรตตันวูดส์ สหรัฐอเมริกา และลงนามในข้อตกลงเบรตตันวูดส์ เหตุการณ์นี้เป็นการวางรากฐานสำหรับระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ที่มุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ
ระบบใหม่นี้ได้อิงตามมาตรฐานทองคำบางส่วน แต่คราวนี้เฉพาะค่าเงินของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่ได้ถูกตรึงกับมูลค่าของทองคำ ($35 ต่อออนซ์) เนื่องจากในเวลานั้นสหรัฐอเมริกาได้ถือครองทองคำสำรองมากที่สุดในโลก ประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบนี้ (43 ประเทศ ไม่รวมสหรัฐอเมริกา) จะตรึงสกุลเงินของตนเองกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยอนุญาตให้เบี่ยงเบนได้สูงสุด 1% หากมูลค่าของสกุลเงินเริ่มเบี่ยงเบนออกนอกช่วงที่อนุญาต ประเทศนั้นจะต้องแก้ไขโดยการซื้อหรือขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ระบบนี้ให้เสถียรภาพที่จำเป็นอย่างมากแก่ตลาดโลก และช่วยลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินสำรองของโลก
ระบบเบรตตันวูดส์ได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายสิบปีจนถึงปี 1970 เมื่อจำนวนดอลลาร์สหรัฐที่หมุนเวียนทั่วโลกเริ่มสูงเกินอุปทานปริมาณทองคำในทองคำสำรองของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ ในปี 1971 Richard Nixon ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงได้ระงับการทำงานของระบบชั่วคราว และในปี 1973 ระบบก็พังทลายลงโดยสิ้นเชิง
ระบบลอยตัวเสรี (free-floating system)
การสิ้นสุดของระบบเบรตตันวูดส์ได้ก่อทำให้เกิดระบบลอยตัวเสรีขึ้นมา ซึ่งค่าของสกุลเงินลอยตัวอย่างอิสระโดยไม่ผูกติดกับราคาทองคำ ระบบใหม่นี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของเงินเฟียต ซึ่งมูลค่าของเงินนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนโดยสินค้าโภคภัณฑ์ใด ๆ แต่โดยรัฐบาลที่เป็นผู้ออกสกุลเงินนั้น
ในระบบลอยตัวเสรี มูลค่าของสกุลเงินจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงตามเสถียรภาพและความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันมันจะสะท้อนถึงระดับอุปสงค์และอุปทานของสกุลเงินนี้ในตลาด Forex อีกด้วย
แม้ว่ามาตรฐานทองคำจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่ยอมรับระบบลอยตัวเสรีเป็นบรรทัดฐานใหม่ ตัวอย่างเช่น จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จีนได้ตรึงสกุลเงินหยวนของตนไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจุบัน ธนาคารกลางของจีนอนุญาตให้เงินหยวนลอยตัวได้ แต่จะแทรกแซงหากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนสูงขึ้น 2% หรือต่ำกว่าอัตรากลางของวัน 2%
อย่างไรก็ตาม ระบบลอยตัวเสรีก็ได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก ซึ่งช่วยให้มีอิสระมากขึ้นในตลาด Forex และช่วยให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงของรัฐบาล
ยุคอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ดึงผู้คนนับหลายพันล้านจากทั่วทุกมุมโลกมารวมกัน ด้วยสภาพแวดล้อมดิจิทัลใหม่ จึงทำให้ไม่เพียงแค่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงตลาด Forex ได้ การถือกำเนิดขึ้นของหลากหลายแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ทำให้การซื้อขาย Forex นั้นเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมในกลุ่มบุคคลที่รู้จักกันในชื่อเทรดเดอร์รายย่อย สิ่งนี้ทำให้ผู้เล่นเข้าสู่ตลาด Forex มากขึ้น และด้วยความช่วยเหลือจากโบรกเกอร์ จึงทำให้ตอนนี้พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ไม่เคยเปิดให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงได้
อย่างที่คุณเห็น การเทรด Forex นั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาก ซึ่งย้อนไปถึงยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์เลยทีเดียว แต่หลังผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปหลายครั้ง ในที่สุดการซื้อขาย Forex ก็พร้อมให้ทุกคนที่สนใจเข้าทำกำไรจากมัน ดังนั้น รีบมาคว้าโอกาสนี้เพื่อสร้างประวัติศาสตร์การเทรด Forex ของคุณเองกับ FBS เลยสิ!