อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกกำลังค่อย ๆ ลดลง เป็นไปได้ไหมที่สกุลเงินยูโรจะเข้ามาแทนที่? เราก็ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะนำพาทั้งโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่?
อัปเดทแล้ว • 2022-12-29
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มการจ้างงานได้ราวครึ่งล้านในเดือนมีนาคม ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.6% ดัชนีดาวโจนส์อยู่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ครัวเรือนต่างๆ ได้เก็บออมเงินไว้ถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ และกำลังนำมาใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจในขณะนี้ ถึงแม้จะมีข่าวดีต่างๆ ออกมา การคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ยังมีสูงมากใน Wall Street Deutsche Bank, Goldman Sachs และเจ้าหน้าที่ของ Fed ต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 2 ปีข้างหน้า
อะไรคือสาเหตุของการคาดการณ์เชิงลบดังกล่าวสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ?
1. ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันคล้ายกับช่วงก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งก่อนในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ในช่วง 75 ปีที่ผ่านมา เมื่อใดก็ตามที่อัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 4% และอัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่า 5% เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในสองปี ในวันนี้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เข้าใกล้ 8% และอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.6% ในเดือนมีนาคม
2. การผกผันของเส้นอัตราผลตอบแทน
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น การตัดสินใจของ Fed ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และสงครามในยูเครน ล้วนผลักดันให้เส้นอัตราผลตอบแทนลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเส้นอัตราผลตอบแทนผกผัน ความกลัวที่จะเกิดการถดถอยก็จะเพิ่มขึ้น การผกผันของเส้นโค้งเกิดขึ้นเมื่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี นั่นหมายถึงนักลงทุนไม่ไว้วางใจความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว และชอบเดิมพันระยะสั้นเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว
การผกผันของเส้นโค้งได้ทำนายการถดถอยทุกครั้งตั้งแต่ปี 1955 โดยมีการทำนายผิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นหลังจากการผกผันของเส้นอัตราผลตอบแทนในช่วง 6-24 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งหมดภายในปี 2023
3. อัตราเงินเฟ้อสูงจะกัดกินเงินออม
อัตราเงินเฟ้อที่สูงจะบังคับให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงมากจนสามารถผลักดันให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากราคาที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ กัดกินเงินออมของครัวเรือนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค สิ่งนั้นจะบังคับให้พวกเขาใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งจะทำให้อุปสงค์และการเติบโตช้าลงไปอีก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็น 3.7% ในปีนี้
4. กระชับเกินไป เร็วเกินไป
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธสัญญาณอันตรายของอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่แรกๆ จึงทำให้ตอบสนองช้าเกินไป และตอนนี้การกระชับนโยบายที่เข้มงวดขึ้นอย่างรวดเร็วอาจผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปด้วย
อันที่จริง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการผ่อนคลายนโยบายมากเป็นพิเศษ การผลิตเงินกู้ การเพิกเฉยต่อภาวะเงินเฟ้อเป็นการกระชับนโยบายในเชิงรุก การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และการถอนสภาพคล่องออกจากตลาด จะทำให้เกิดความสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ Fed จะทำการเบรกอย่างแรงเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยสามารถยกเลิกการฟื้นตัวที่เปราะบางจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโควิด-19 เมื่อสองปีก่อนได้โดยไม่ทันได้สังเกต
5. อุปสงค์สูงเกินอุปทานและการเติบโตที่ช้า
การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและความต้องการการบริการ สินค้า บ้าน และรถยนต์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่รวดเร็ว ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความไร้เสถียรภาพของโลก ปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้นแล้ว นั่นทำให้ระยะห่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานกว้างขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ
Fed เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมอีก 6 ครั้งที่เหลือในปี 2022 เพื่อลดการใช้จ่ายของสหรัฐฯ เพื่อให้อุปสงค์พอดีกับอุปทาน ดังนั้นการเติบโตที่ช้าลงเล็กน้อยอาจช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้ แต่การชะลอตัวมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ หากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาในปีนี้หรือปีหน้า ก็เป็นไปได้สูงว่าน่าจะเกิดจากความพยายามอย่างแข็งขันของ Fed ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
สหรัฐอเมริกาอาจหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แต่หนทางนั้นอาจจะไม่ราบรื่นและเรียบง่ายนัก Fed จะต้องลดอัตราเงินเฟ้อลง ในขณะที่ก็ยังต้องทำให้อัตราการว่างงานต่ำและทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงไปด้วย ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะสามารถทำได้หรือไม่?
คล้ายกัน
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม ธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ ล้มอย่างกะทันหัน การล้มละลายในครั้งนี้ถือเป็นการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของอเมริกัน ในบทความนี้ เราจะมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดกับเราทุกคนกัน
ตลาดหุ้นมักจะถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เทรดเดอร์หลายคนจึงมองดัชนีว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสิ่งที่คาดหวังจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก
ข่าวล่าสุด
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด