อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกกำลังค่อย ๆ ลดลง เป็นไปได้ไหมที่สกุลเงินยูโรจะเข้ามาแทนที่? เราก็ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้อย่างไร?
อัปเดทแล้ว • 2022-02-14
อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐได้พุ่งสูงขึ้นในเดือนมกราคมถึง 7.5% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นประจำปีครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี ราคาที่พุ่งสูงขึ้นนี้เป็นอัตราเงินเฟ้อที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982
หน้าที่ส่วนหนึ่งของเฟดคือการป้องกันไม่ให้เงินเฟ้อเกินการควบคุม และทุกรั้งที่มันเพิ่มขึ้นก็จะพยามนำมันกลับมาไว้ที่เป้าหมายของธนาคารที่ 2% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน เฟดวางแผนที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ซึ่งอาจมากถึงห้าครั้ง
นักลงทุนกำลังรอให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมถัดไปในเดือนมีนาคม คำถามในตอนนี้ไม่ใช่ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ แต่ถามว่าจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 basis points หรือ 25 basis points
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้อย่างไร?
1. อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะช่วยลดอุปสงค์
เฟดควบคุมอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมักจะถูกเรียกว่าอัตราเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเป็นอัตราที่ธนาคารใช้ในการให้สินเชื่อข้ามคืนซึ่งกันและกัน ธนาคารกู้ยืมเงินเพื่อส่งมอบสินเชื่อแก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ดังนั้น เมื่อเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย มันก็จะเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมสำหรับธนาคารที่ต้องการเงินเพื่อปล่อยกู้ให้ผู้อื่น หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ แน่นอนว่าธนาคารได้ส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นเหล่านี้ไปยังผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points หรือ 0.25% ผู้บริโภคและธุรกิจจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อกู้ยืมเงินเช่นกัน
เมื่อต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น อุปสงค์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ลดลง ตัวอย่างเช่น หากสินเชื่อรถยนต์มีราคาแพงขึ้น คุณในฐานะผู้บริโภคอาจตัดสินใจว่าตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะซื้อรถคันใหม่ หรือบางทีบริษัทอาจไม่มีท่าทีที่จะลงทุนสร้างโรงงานใหม่และจ้างคนงานเพิ่มเติม หากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพื่อขอเงินกู้เพื่อใช้ในธุรกิจของบริษัทนั้นเพิ่มสูงขึ้น นั่นคือค่าใช้จ่ายเมื่อเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2. อุปสงค์ที่ต่ำลงตะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ
เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้อุปสงค์ลดลงและทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก นั่นคือสิ่งที่ช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อ โดยปกติ ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นเมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้กับอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกู้ยืมมีราคาแพงขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการจึงลดลงทั้งเศรษฐกิจ
ราคาอาจไม่จำเป็นต้องลดลงและกลับสู่อัตราเดิมหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อย่างน้อยๆอัตราเงินเฟ้อก็จะลดลงเฟดจะปฏิบัติตามวัฏจักรนี้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐจึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าความต้องการสินค้าและบริการจะลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาและอัตราเงินเฟ้อสงบลง ครั้งนี้เฟดจะสำเร็จหรือไม่?
คล้ายกัน
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม ธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ ล้มอย่างกะทันหัน การล้มละลายในครั้งนี้ถือเป็นการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของอเมริกัน ในบทความนี้ เราจะมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดกับเราทุกคนกัน
ตลาดหุ้นมักจะถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เทรดเดอร์หลายคนจึงมองดัชนีว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสิ่งที่คาดหวังจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก
ข่าวล่าสุด
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด