จะเกิดอะไรขึ้นกับสกุลเงินยูโร? มุมมองทางเศรษฐกิจ
ท่ามกลางเบื้องหลังของการลดอำนาจสกุลเงินดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไปของระบบเศรษฐกิจโลก คำถามเกี่ยวกับการแทนที่สกุลเงินประจำชาติของสหรัฐฯ กำลังถูกหยิบยกขึ้นมามากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เริ่มพูดถึงเงินยูโรในฐานะตัวแทนดังกล่าวแล้ว แต่สิ่งนี้ไม่น่าเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ของสหภาพยุโรป ซึ่งกำลังแสดงอยู่บนเวทีโลก เกิดอะไรขึ้นกับสหภาพยุโรป และชะตากรรมใดที่กำลังรอสกุลเงินยูโรอยู่? อ่านเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้ในบทความของเราในวันนี้
แกตายก่อนวันนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ฉันค่อยตาย
ในนวนิยายเรื่อง "Gulag Archipelago" โดยนักเขียนชาวรัสเซีย Alexander Solzhenitsyn มักจะพบวลีที่ว่า "แกตายก่อนวันนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ฉันค่อยตาย" มันอธิบายได้ค่อนข้างดีถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ตำรวจโลก" ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา สกุลเงินสำรองของโลก ซึ่งก็คือดอลลาร์สหรัฐ และดาวเทียมหลักของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คือประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป
ในรูปแบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีดอลลาร์สหรัฐเป็นศูนย์กลาง การรักษาโรค (วิกฤตการณ์ทางการเงิน) ใด ๆ ก็คือการโยนสภาพคล่องเพิ่มเติมเข้าสู่ตลาด
ตัวอย่างของ "การรักษา" นี้สามารถเห็นได้ในวิกฤตการณ์สามครั้งสำคัญที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้ผ่านพ้นไป และคุณน่าจะคุ้นเคยดี
วิกฤตซับไพรม์ปี 2008
หลังจากกระตุ้นการก่อตัวของฟองสบู่ขนาดใหญ่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ผ่านการปล่อยอนุพันธ์ที่ไร้การควบคุม สหรัฐฯ จึงได้เพิ่มปริมาณเงินสำรองอย่างมหาศาล (ปริมาณเงินสำรอง M2 "เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด" จากต้นปี 2008 และ 2009) และสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันคือการเริ่มวัฏจักรอันยาวนานของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลักโดยทำให้มันลดลงจนเกือบถึงระดับศูนย์
เมื่อพิจารณาว่าสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าสุทธิ สิ่งนี้ทำให้เกิดการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (key rate) ในสหภาพยุโรปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนเหลือ 1% และลดค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป (มูลค่าสูงสุดของคู่ EURUSD อยู่ที่ 1.6038 ในปี 2008)
การไม่มีตัวเลือกอื่นนอกจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (อ่าน: หนี้สหรัฐฯ) ในขณะที่ก่อนเกิดวิกฤตซับไพรม์ อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ไม่เกิน 70% หลังปี 2009 อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ได้พุ่งขึ้นเป็น 82% แถมยังเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ
วิกฤตโควิด-19
สหรัฐฯ ได้เดินตามเส้นทางเดิม แต่ครั้งนี้รุนแรงกว่า โดยอัดฉีดเงินกว่า $4.5 ล้านล้าน เข้าสู่ระบบ หลังจากรอบ 4 ปีของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มันก็ได้ลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ถึงเวลานี้ เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปไม่มีโอกาสให้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกต่อไป ตั้งแต่ปี 2008 สหภาพยุโรปแทบไม่ได้หยุดวงจรขาลง และสกุลเงินยูโรก็อ่อนค่าลง 16.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในตอนนั้น
วิกฤตการณ์ในปี 2022
หลังการระบาดครั้งใหญ่สิ้นสุดลงได้ไม่นานเท่าไร วิกฤตของปี 2022 ก็เกิดขึ้นทันที โดยเริ่มต้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน วิกฤตครั้งนี้ได้เปิดโปงปัญหาที่ชัดเจนซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้รับความสนใจ แต่สะสมไว้มาโดยตลอด วิกฤตแรกคือปัญหาของแหล่งพลังงานราคาถูกซึ่งมีพื้นฐานมาจากอัตราเงินเฟ้อต่ำในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ในที่สุดก็อนุญาตให้คงอัตราดอกเบี้ยต่ำเอาไว้ และไม่ฆ่าเชื้อสภาพคล่องที่ฝังตัวอยู่ในระบบมาเป็นเวลานานแล้ว วิกฤตที่สอง จีนและอินเดียบางส่วนได้แข็งแกร่งขึ้น และขณะนี้กลายเป็นผู้เล่นชั้นนำในเวทีภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการครอบงำของสหรัฐฯ และส่งผลต่ออำนาจสูงสุดของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ปัญหาของการอยู่รอดของสหรัฐฯ ในสถานการณ์นี้คือคำถามของการผนึกกำลังกับพันธมิตรหลักในสหภาพยุโรป และใช้เศรษฐกิจของพวกเขาเพื่อรับประกันความยั่งยืน สันนิษฐานว่า สหรัฐฯ เองก็ตระหนักดีว่า "การกระจายตัวสู่โลก" กำลังเกิดขึ้นแล้ว และกำลังพยายามเข้ายึดครองตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ได้เปรียบที่สุดในระยะยาว
สหภาพยุโรปและสกุลเงินยูโรอาจเข้ามามีบทบาทรองอย่างมากได้ในสถานการณ์นี้ จากการกระทำของพวกเขาต่อหนึ่งในผู้จัดหาพลังงานรายใหญ่ของสหภาพยุโรป รัสเซีย นักการเมืองในยุโรปยืนยันว่าพวกเขายึดมั่นในหลักการตลาดของอเมริกา จากการปฏิเสธที่จะซื้อพลังงานจากรัสเซีย ตลาดสหภาพยุโรปจึงได้ถูกควบคุมโดยบริษัทน้ำมันของอเมริกาอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2022 ผลประกอบการของ Exxon Mobil ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ผลประกอบการของ Chevron ได้เพิ่มขึ้น 57% และผลประกอบการของ Shell ได้เพิ่มขึ้นเกือบ 46%
นั่นคือประเด็นสำคัญของประโยคที่ว่า "แกตายก่อนวันนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ฉันค่อยตาย"
เกิดอะไรขึ้นกับสหภาพยุโรป?
เหตุใดสหภาพยุโรปและสกุลเงินของสหภาพยุโรปจึงไม่สามารถท้าทายสหรัฐฯ ได้? หากไม่คำนึงถึงแง่มุมทางภูมิรัฐศาสตร์และลักษณะส่วนบุคคลของนักการเมืองยุโรป แล้วมุ่งความสนใจไปที่องค์ประกอบทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว คำตอบนั้นง่ายมาก ๆ นั่นคือ ความแตกต่างของเศรษฐกิจ
เป็นเวลา 40 ปีแล้วที่ EU ให้ความสำคัญกับการขยายพรมแดนและการบูรณาการ จนไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน หากเราดู GDP ของ 27 ประเทศในสหภาพยุโรปก็จะเห็นภาพดังนี้:
ช่องว่างระหว่างประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป (เยอรมนี) และประเทศเศรษฐกิจอันดับสอง (ฝรั่งเศส) อยู่ที่ประมาณ 50% ในปี 2021 หากเราเปรียบเทียบเยอรมนีกับกรีซ ช่องว่างก็จะห่างกันประมาณ 20 เท่า อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ในปัจจุบันของเยอรมนีอยู่ที่ 66.3% ในขณะที่ของกรีซอยู่ที่ 171.4% อัตราส่วนในสเปน (ไม่ใช่เศรษฐกิจที่เล็กที่สุดในสหภาพยุโรป) คือ 113.2% กล่าวอีกนัยหนึ่ง วลีที่ว่า "เบอร์เกอร์ชาวเยอรมันจ่ายสำหรับทุกสิ่งได้" นั้นไม่สมเหตุสมผล นี่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง
ถัดไปก็คือหนี้ของสหรัฐฯ ที่มีต่อสหภาพยุโรป โดยรวมแล้วสหภาพยุโรปถือครองหนี้ต่างประเทศของสหรัฐฯ ประมาณ 1:15 นายธนาคาร Jean Paul Getty เคยกล่าวว่า "ถ้าคุณเป็นหนี้ธนาคาร $100 นั่นจะเป็นปัญหาของคุณ แต่ถ้าคุณเป็นหนี้ธนาคาร $100,000,000 นั่นจะเป็นปัญหาของธนาคาร" สิ่งนี้ถูกปรับใช้กับสหรัฐอเมริกาได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งในที่นี้สหภาพยุโรปก็คือธนาคาร ปัญหาของวิกฤตการณ์ในปัจจุบันคือ ในแง่หนึ่ง สหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น ในทางกลับกัน หากเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป สหรัฐฯ ก็กำลังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ซึ่งส่งผลให้งบประมาณขาดดุลเพิ่มสูงขึ้น แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาชดเชยการขาดดุล? ถูกต้อง ก็จากการออกพันธบัตรเพิ่มและขายให้กับเหล่าพันธมิตรยังไงล่ะ
ด้วยการจัดระเบียของระบบเศรษฐกิจ การกระจายตัวของลูกหนี้รายใหญ่ของสหรัฐฯ จะค่อย ๆ เริ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือหนี้ของสหรัฐฯ ต่อสหภาพยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อ EURUSD
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
ในทางเทคนิค EURUSD อยู่ในแนวโน้มขาลงทั่วโลก เส้นแนวโน้มกำลังมุ่งหน้าลง และค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ทั้งหมดก็ลดลงเช่นกัน
การเคลื่อนไหวในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาถือเป็นการปรับฐาน ราคาได้ทำลายการปรับฐานที่ระดับ Fibo 50% และได้แตะเกือบถึง 1.2226 (61.8% ของการปรับฐาน Fibo)
โดยมีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่ราคาก็จะร่วงลงไปเรื่อย ๆ
สรุป ภาพรวมแนวโน้มของ EURUSD
ตอนนี้เราเห็นสถานการณ์ทั่วโลกที่เป็นไปได้ 2 สถานการณ์ ซึ่งทั้งสองสถานการณ์ต่างก็ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ EUR
สถานการณ์ที่ 1 การรวมตัวของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่แนบแน่นมากยิ่งขึ้น
ในสถานการณ์นี้ เป็นไปได้ที่จะเพิ่มการกู้ยืมของหลายประเทศในสหภาพยุโรป กล่าวคือ เพื่อเพิ่มการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจของยุโรปกับอเมริกา
สถานการณ์ที่ 2 การล่มสลายของบางประเทศในสหภาพยุโรป การแตกแยกบางส่วนของสหภาพยุโรป
สถานการณ์นี้เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในที่สำคัญภายในแต่ละประเทศของกลุ่มยุโรป และหากสหรัฐฯ "ปล่อย" "กบฏ" ดังกล่าวออกจากอิทธิพลของตน นี่ก็เป็นเส้นทางที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็คงจะเป็นไปได้ในอนาคตอันไกลโพ้น