ถึงจุดที่ธนาคารกลางต้องตัดสินใจ: ต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ vs. สนับสนุนเศรษฐกิจ

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ธนาคารกลางรายใหญ่จะเดินบนเส้นทางที่แตกต่างกันในปี 2022 บางธนาคารจะตอบสนองต่อภัยคุกคามจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่บางธนาคารจะยังคงมุ่งเน้นที่การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวจากการโรคระบาด

ผู้กำหนดนโยบายจะเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความระมัดระวัง การดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมราคาอาจทำลายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอัตราเงินเฟ้อบรรเทาลงได้ด้วยตัวมันเอง ในทางกลับกัน การรอเป็นเวลานานเพื่อให้แน่ใจว่าฟื้นตัวอาจเร่งอัตราเงินเฟ้อ และจะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นและรุนแรงขึ้นในภายหลัง

ธนาคารกลางสหรัฐฯ

ธนาคารกลางสหรัฐได้เลือกที่จะตอบสนองต่อเงินเฟ้อ เนื่องจากมันอยู่ในอัตราที่ไม่เหมาะสมที่จะเรียกว่า "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" อีกต่อไป และจะเป็นผู้นำทีมกระชับนโยบาย

ประธานธนาคารกลางสหรัฐ คุณ Jerome Powell จะเริ่ม ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในการประชุมเดือนมีนาคม เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี

ธนาคารกลางสหรัฐกำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกจากตลาด เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวและมีความแข็งแกร่ง เฟดก็จะลดการซื้อพันธบัตรเป็นสองเท่าจากเดิม $15 พันล้านต่อเดือนเป็น $30 พันล้านต่อเดือน หลังจากสังเกตว่าการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

ในอัตรานี้ เฟดจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรภายในเดือนมีนาคม เจ้าหน้าที่ของเฟดกำหนดให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในแต่ละไตรมาสในช่วงปี 2022 ซึ่งคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานจะลดลงประมาณ 3.5% ภายในสิ้นปีนี้

ธนาคารกลางอังกฤษ

สหราชอาณาจักรจะกลายเป็นเศรษฐกิจกลุ่มแรกในกลุ่ม G7 ที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ที่โควิด-19 เริ่มระบาด ซึ่งปรับขึ้นก่อนเฟดด้วยซ้ำ

ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.25% จาก 0.1% เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 6% ในเดือนเมษายน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของเป้าหมายของธนาคาร

 เทรดเดอร์กำลังเดิมพันว่า BoE จะติดตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง รุนแรงที่สุดในรอบสามทศวรรษ พวกเขาคาดว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.5% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดเชื่อว่าอัตรามาตรฐานจะสูงถึง 1% ภายในเดือนพฤศจิกายน

ธนาคารกลางยุโรป

ในขณะที่เฟดและ BoE ควรกระชับขึ้น แต่ ECB ก็ยังต้องการใช้มาตรการกระตุ้นต่อไป

ECB ได้ประกาศแผนการที่จะเพิ่มการซื้อพันธบัตรและเพิ่มการกระตุ้นและสภาพคล่องแก่เศรษฐกิจยุโรปให้มากขึ้น ประเทศในยุโรปกำลังรอการกระตุ้นเนื่องจากหลายประเทศล็อกดาวน์และมีข้อจำกัดที่เข้มงวดมากเนื่องจากโอไมครอน อย่างไรก็ตาม แผนงานของ ECB จะรวมถึงการลดการซื้อพันธบัตรในเดือนมีนาคมด้วย

ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ผลักดันให้ Fed และ BoE เปลี่ยนนโยบาย ประธาน ECB Christine Lagarde ได้กล่าวว่าการระบาดใหญ่ครั้งนี้ได้ส่งผลให้การใช้จ่ายในเขตยูโรลดลงและคุกคามการเติบโต

ECB ได้ตัดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยใดๆในช่วงปี 2022 ธนาคารได้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามมุมมองที่ผ่อนคลายที่สุดเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ECB ยังได้ชี้ว่าการเลิกใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเมืองจะกินเวลาหลายปีและค่อยๆดำเนินไปอย่างช้าๆ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น

ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงห่างไกลจากการเข้มงวดและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากธนาคารเองยังไม่เห็นอัตราเงินเฟ้อ

ญี่ปุ่นไม่มีความต้องการสินค้าและสินค้าเหมือนประเทศอื่นๆ ค่าแรงของคนงานญี่ปุ่นไม่เขึ้นเหมือนคนงานอเมริกัน ในญี่ปุ่น การเปลี่ยนงานทำได้ยาก ดังนั้นจึงมีแรงกดดันน้อยลงในการเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึงดูดคนงานหรือรักษาคนที่มีทักษะเอาไว้ เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นยังคงต่ำ บริษัทที่ขึ้นราคามักจะสูญเสียลูกค้าอย่างรวดเร็ว

BoJ จะลดการซื้อหนี้ในปลายเดือนมีนาคม และจะดำเนินการทีละน้อยเพื่อลดการจัดซื้อเพื่อการรับมือกับโรคระบาด คาดว่าญี่ปุ่นจะลดการกระตุ้นเศรษฐกิจในอัตราที่ช้ากว่าประเทศอื่นมาก

ในปี 2022 ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะค่อยๆเปลี่ยนจากการจัดซื้อเพื่อรับมือโรคระบาดไปเป็นการพยายามเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 2% ซึ่งแทบจะไม่มีเสถียรภาพเหนือ 0%

ธนาคารกลางจีน

สำหรับจีน เราคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่พยายามบรรเทาการชะลอตัวในเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

ในปี 2022 ความแตกแยกครั้งใหญ่ระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งจะถึงจุดสูงสุด หลังจากที่ภาคการค้า, การเงิน, และเทคโนโลยีได้ถูกโจมตีไปหมดแล้ว ธนาคารกลางจะเดินสวนทางกัน โดยเฟดเริ่มวงจรความเข้มงวด ในขณะที่ธนาคารกลางจีนจะเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

สุดท้ายนี้ โลกเศรษฐกิจจะถูกแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่างๆที่นำโดยธนาคารกลางรายใหญ่และนโยบายที่ขัดแย้งกันในปีนี้ นี่เป็นการเคลื่อนไหวใหม่ๆของตลาดและเป็นดินแดนที่พวกเขาเองก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไร ทุกสิ่งเท่าเทียมกัน, อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นผลบวกต่อสกุลเงิน ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลลบ ส่งผลให้ USD อาจเป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในปีนี้

Amira Mohey

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา